ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ The Effect of Motivation Promoting Program on Self-Management Behavior in Asthmatic Adult Patients

ผู้แต่ง

  • จิรสุดา ทะเรรัมย์
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ

คำสำคัญ:

โรคหืด การเสริมสร้างแรงจูงใจ พฤติกรรมการจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

ของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 - 59 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลสุรินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับการควบคุมโรคหืด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ ระยะเวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหืด แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคหืด แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคหืด และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหืด ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม มีค่าความตรงตามเนื้อหาทุกตัวเท่ากับ 1 และมีค่าความสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .74, .83, .93, .85 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05
  2. 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-14