สถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี Health Status and Health Needs of Elderly in Khukhot Subdistrict Lumlukka District Pathumthani Province

ผู้แต่ง

  • ศรีเมือง พลังฤทธิ์
  • เกษร สำเภาทอง
  • อารีย์ สงวนชื่อ
  • ลำดวน โรจรัตน์

คำสำคัญ:

สถานะสุขภาพ, ความต้องการด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ และในพื้นที่ตำบลคูคตมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก การได้ข้อมูลพื้นฐานของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อๆ ไป

วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ                                                                              

วิธีดำเนินการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง โดยการสำรวจข้อมูลตามแบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองคูคต เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ จากรายชื่อของผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพในเขตเทศบาลเมืองคูคต จำนวน 826 คน   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามมีค่าความน่าเชื่อถือ ครอนบาค อัลฟ่า 0.75  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ไคว์สแควร์ 

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 62.23 อายุเฉลี่ย 70.01 ปี ป่วยมีโรคประจำตัวเกือบร้อยละ 79.78 เคยตก/ หกล้มเกือบ 1 ใน 3 (ร้อยละ 31.96)   พฤติกรรมสุขภาพ ส่วนมากนอนกลางวัน หลับง่าย หลับสบายดี  ขับถ่ายปกติ  ออกกำลังกายร้อยละ 62.35  สูบบุหรี่ร้อยละ 7.38  ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 7.99  กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้, ต้องการความช่วยเหลือบ้าง, และ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือร้อยละ  87.77, 3.63, และ 2.91 ตามลำดับ   ด้านจิตใจ ส่วนมากมีความวิตก กังวล เครียด เล็กน้อย ร้อยละ 38.98   ด้านครอบครัว ส่วนมากสมาชิกในครอบครัวมี 3 คนร้อยละ 23.24  บ้านสองชั้นนอนชั้นบน ส้วมชักโครก พื้นห้องน้ำไม่ลื่น   ด้านชุมชน  ส่วนมากเข้าร่วมบางกิจกรรม  มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพดี พอใช้ ดีมาก ไม่ดี ดีเลิศ (ร้อยละ 41.40, 38.14, 9.08, 6.54 และ 0.48) ตามลำดับ   ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย  (P-value 0.000)  การใส่เครื่องปรุงรสในอาหาร     (P-value 0.001) และมีความวิตก กังวล เครียด (P-value 0.000)     

ข้อเสนอแนะ ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้เห็นบริบทของชุมชน และควรนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลพื้นฐานต่อไป  ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย  (X2 (df, N = 3, 782) = 22.567, P< .0001)  การใส่เครื่องปรุงรสในอาหาร (X2 (df, N = 6, 739) = 24.035, P=.001) และมีความวิตก กังวล เครียด (X2 (df, N = 9, 751) = 66.947, P< .0001)     

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-14