ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง ในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต (Effects of Clinical Nursing Practice Guideline Development for Acute Kidney Injury Patients with Continuous Renal Replacement Therapy in Intensive Care Unit)

ผู้แต่ง

  • Phayom Bunsut
  • Suchitra Limumnoilap

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (nursing clinical practice guidelines, acute kidney injury, continuous renal replacement therapy)

บทคัดย่อ

The objective of this study was to develop and examine the effects of clinical nursing practice guidelines for acute kidney injury patients receiving continuous renal replacement therapy who admitted in the intensive care units of Srinagarind Hospital, Khon Kaen University, from January, 2010 to May, 2011. The development model of evidence-based practice developed by Rosswurm and Larrabee was applied as the conceptual framework of this study. The samples of this study included: 1) seven nurses who involved in the development of clinical nursing practice guidelines for acute kidney injury patients receiving continuous renal replacement therapy, 2) 28 nurses who involved in the implementation of the practice guidelines with the patients with acute kidney injury receiving continuous renal replacement therapy and 3) 13 patients who were diagnosed of acute kidney injury and received continuous renal replacement therapy. The study instruments consisted of: 1) demographic data for the nurses who implemented the practice guidelines and the patients, 2)  treatment and the complication record of the patients, 3) the survey of  nursing care for patients with acute kidney injury receiving continuous renal replacement therapy, 4) questionnaire of nurses’ opinions of the project training workshop, 5) questionnaire of nurses’ opinions of the practice guidelines, and 6) evaluation of nursing practices relevant to the practice guidelines. Reliabilities of the questionnaire of nurses’ opinions and the evaluation of nursing practices were examined using alpha Cronbach’s coefficient, they were 0.94 and 0.76 consecutively. Data were analyzed using descriptive statistics and chi-square test.

Result of this study revealed that the clinical nursing practice guidelines for the patients with acute kidney injury who received continuous renal replacement therapy were developed. The results of the implementation of the clinical nursing practice guidelines showed that: 1) the nurses who implemented the clinical nursing practice guidelines viewed that the most average level was 4.57 at the overall (SD = 0.42) 2) after the implementation of  the clinical nursing practice guidelines, the frequencies of nursing activities of all items were increased to “mostly do” level 3) the implementation effects of the clinical nursing practice guidelines on the patients showed that: (a) the averages of the patients’ blood urea, creatinine, and potassium levels were decreased, (b) the averages of the patients’ bicarbonate level were increased at the 4th-6th hours, 24th hour, and 48th hour of the treatment period, (c) the complications mostly found after treatment were decreased blood calcium, hypothermia and filter obstruction.

The findings of this study indicated that the clinical nursing practice guidelines which were particularly developed for the patients with acute kidney injury receiving continuous renal replacement therapy are appropriate for implementation in intensive care units. The implementation of the practice guidelines resulted in increased frequency of nursing activities relevant to the practice guidelines, and positive outcomes of patient care.

การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ของ Rosswurm and Larrabee เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก จำนวน 7 คน และพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก จำนวน 28 ราย 2) ผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก จำนวน 13 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย                 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลและผู้ป่วย 2) แบบบันทึกผลลัพธ์การรักษาและแบบบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาของผู้ป่วย 3) แบบสอบถามเบื้องต้นเพื่อสำรวจการปฏิบัติ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ                5) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก และ 6) แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก และแบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเท่ากับ 0.94 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง และเมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวม ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.57 (SD = 0.42) 2) ภายหลังการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปใช้ พบว่าพยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นทุกข้อ 3) ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยยูเรีย ครีเอตินิน และโปแตสเซียมลดลงจากค่าเริ่มต้น และค่าเฉลี่ยไบคาร์บอเนตเพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้นก่อนการรักษาในช่วงเวลาการรักษาที่ 4-6 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ และอาการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาแต่ละช่วงเวลาที่พบมากที่สุดคือ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ และตัวกรองอุดตัน

จะเห็นได้ว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติคือ พยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในแต่ละระยะของการรักษาเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วย

 

Downloads