ประสิทธิภาพของเครื่องมือให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอ ต่อการลดอุณหภูมิ เทียบเคียงสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรง (Effects of Local Head-and-Neck Cooling on the Reduction of Relevant Brain Temperature in the Patients with Severe Traumatic Brain Injury)
คำสำคัญ:
การให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรง อุณหภูมิสมอง อาการหนาวสั่น local head-and-neck cooling, severe brain injury, brain temperature, shiveringบทคัดย่อ
The purposes of this quasi-experimental research, one group (cross-over design) were to: 1) develop a local head-and-neck cooling device, and 2) test its effects on the reduction of relevant brain temperature by comparing with blanket cooling. Purposive sampling was applied to the patients with severe brain injury during the first 72 hours after injury who admitted into the intensive-care-unit of Srinagarind Hospital. Thirteen patients who met the inclusion criteria were recruited into the study. They received two alternate interventions: local head-and-neck cooling and blanket cooling. The first treatment was randomly assigned using non-replacement random sampling. The study instruments consisted of: 1) the local head-and-neck cooling device which was developed by the researcher, 2) the blanket cooling and temperature control (model Blanketrol II), and equipments for data collection were: 1) the ear canal thermometer, 2) the rectal thermometer which compatible with NIHON KOHDEN monitor, and 3) the shivering assessment form. Data were analyzed using descriptive statistics, Linear Mixed Models, and Chi-square test.
The findings of the study were: 1) the average temperatures during local head-and-neck cooling measured via ear canal at before, during, and after interventions, decreased greater than the average temperatures measured via rectum with high significance of p = 0.00, 2) the average temperatures during local head-and-neck cooling measured via ear canal at before, during, and after interventions, decreased greater than the average temperatures during blanket cooling with high significance of p = 0.00, 3) the average temperatures during local head-and-neck cooling measured via rectum before, during, and after interventions, decreased lesser than the average temperatures during blanket cooling with high significance of p = 0.00, and 4) the shivering of the patients occurred during local head-and-neck cooling less than the shivering occurred during blanket cooling with high significance of p = 0.01. Shivering occurred during blanket cooling, but not occurred during local head-and-neck cooling.
The findings of this study indicated that local head-and-neck cooling reduced relevant brain temperature measured via ear canal with no shivering effects. Nurses should aware and concern the importance of the reduction of relevant brain temperature in the patients with severe brain injury and continually apply local head-and-neck cooling within 72 hours after injury, to prevent high fever and secondary brain injury. Significantly, local head-and-neck cooling helps to protect potential shivering and unnecessary disturbance to the patients.
การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษากลุ่มเดียวแบบไขว้กัน (cross-over design) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอในการลดอุณหภูมิเทียบเคียงสมอง โดยเปรียบเทียบกับการใช้แผ่นความเย็น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรงในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ ในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 13 คน แต่ละคนได้รับการให้ความเย็นทั้งสองวิธีในเวลาต่างกัน ใช้วิธีจับสลากสุ่มการให้ความเย็นวิธีแรก เครื่องมือดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ 2) แผ่นความเย็น โดยเครื่องมือทั้งสองชนิดใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิรุ่น Blanketrol II ส่วนเครื่องมือเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางทวารหนักที่ใช้ร่วมกับเครื่อง Monitor ของ NIHON KOHDEN 2) เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางช่องหูด้วยรังสีอินฟาเรด และ 3) แบบประเมินอาการหนาวสั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Linear Mixed Models และสถิติทดสอบ Chi-square
ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิขณะให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอที่วัดทางช่องหูในช่วงเวลาก่อน ระหว่าง และหลังการให้ความเย็น ลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00, 2) ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิขณะให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอที่วัดทางช่องหูในเวลาต่างๆลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิขณะใช้แผ่นความเย็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00, 3) ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของผู้ป่วยขณะให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอที่วัดทางทวารหนักในเวลาต่างๆลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิขณะใช้แผ่นความเย็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00, และ 4) อาการหนาวสั่นขณะให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอน้อยกว่าการใช้แผ่นความเย็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคอ สามารถลดอุณหภูมิเทียบเคียงสมองที่วัดทางช่องหูและไม่เกิดอาการหนาวสั่น พยาบาลควรตระหนักและให้ความสำคัญในการลดอุณหภูมิเทียบเคียงสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรงและใช้วิธีการให้ความเย็นเฉพาะที่บริเวณศีรษะและคออย่างต่อเนื่องในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันภาวะไข้สูงลอยและการบาดเจ็บที่สมองระยะที่สอง นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังช่วยป้องกันอาการหนาวสั่นและไม่เป็นการกระตุ้นผู้ป่วยมากเกินไป