การศึกษาสถานการณ์การประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์(Postoperative Pain Assessment Situation in Orthopaedic Patients, Buriram Hospital)
คำสำคัญ:
การประเมินความปวด ความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ความรุนแรงของความปวด pain assessment, postoperative pain, pain scoreบทคัดย่อ
The purpose of this cross sectional descriptive study was to estimate the proportion of postoperative patients in orthopaedic wards, Buriram Hospital. Using pain score (numeric rating scale, NRS or verbal rating scale,VRS)) the first of 72 hours postoperatively and to identify the prevalence of moderate to severe pain. Data collection was based on the postoperative orthopedic patients (n=200) during June to October 2009. Using a data recorded form. Data were analyzed by frequency, percentage, means and standard deviations.
The result of this study indicated that pain assessment in 24 hours, 24 – 48 hours and 48 – 72 hours postoperatively were 65.00, 40.33 and 14.00 percents respectively. The proportion of pain assessment were done by using pain scales (NRSscoring or VRSscoring) were 30.26, 36.36, 28.57 percents respectively. The prevalence of moderate to severe pain in 24 hours, 24 – 48 hours and 48 – 72 hours postoperatively were 95.76, 95.45, 33.33 percents respectively. The finding revealed that the postoperative pain assessment were done mostly in 48 hours after operation and the prevalence of moderate to severe pain were found mostly in 48 hours after operation. Pain assessment is the key success factor for the effectiveness of pain management. As it is the fifth vital signs, and a part of quality of care assurance.
การวิจัยเชิงบรรยายภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประมาณค่าสัดส่วนการประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์โดยใช้ pain score ใน 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดต่อจำนวนผู้ป่วยหลังผ่าตัด และเพื่อประเมินความชุกของความปวดระดับปานกลาง (moderate pain, NRS 4-6) ถึงปวดมาก (severe pain, NRS 7-10) โดยเก็บข้อมูลจากการประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดและพักรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก1ศัลยกรรมกระดูก 2 ในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 200 ราย โดยใช้แบบเก็บข้อมูลการบันทึกความปวด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า มีการประเมินความปวดหลังผ่าตัด ใน 24 ชั่วโมงแรก 24 – 48 ชั่วโมง และ 48 – 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ร้อยละ 65.00, 40.33, 14.00 ตามลำดับ โดยใช้ pain score ร้อยละ30.26, 36.36, 28.57 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ Verbal Rating Scale ในความหมายอื่น เช่น บ่นปวด ปวดพอทน หรือไม่บ่นปวด ความรุนแรงของความปวดระดับปานกลางถึงปวดมากใน 24 ชั่วโมงแรก 24 – 48 ชั่วโมง และ 48 – 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ร้อยละ 95.76, 95.45, 33.33 ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่ามีการประเมินความปวดมากที่สุดใน 48 ชั่วโมงแรกของการผ่าตัดและมีการประเมินความปวดโดยใช้ pain score ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของความปวดระดับปานกลางถึงปวดมากพบมากใน 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด จึงควรมีการประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์โดยเฉพาะ 48 ชั่วโมงแรก ซึ่งการประเมินความปวดเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการความปวดอย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการพัฒนาให้เสมือนหนึ่งความปวดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 และเป็นส่วนหนึ่งในการประกันคุณภาพการรักษาพยาบาล