การเสริมสร้างพลังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างทีมสร้างเสริมสุขภาพที่เข้มแข็ง หมู่ที่ 3 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี (Empowering by Community Participation in Creating an Empowerment Health Promotion Team at Moo 3 Kukot Subdistrict, Lumlooka District, Pathum-than)

ผู้แต่ง

  • Srimuang Palangrit
  • Alissa Ratanatawan
  • Chumpot Amatyakul

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน ทีมสร้างเสริมสุขภาพ กฎบัตรออตตาวา ความเข้มแข็ง (Community Participation, Health Promotion Team, Ottawa Charter, Empowerment)

บทคัดย่อ

The research of PAR: Participatory Action Research, the objectives were to have the community cooperate in establishing the empowerment health promotion team, work team and assessment team. The methods were to provide the platform of the group discussion for the participants, and establish health promotion team which created the vision and ways in developing the quality of the team, analyzed the community, and planned to write, work and assess the project.

The result of the research, 22 volunteer members in health promotion team created the vision of their team which was to get in harmony, be happy and healthy. The team made 3 projects, and had registered in the group discussion for 12 times, 15 persons per once in average. The abilities of the team members were 80% problems finding, 85% data analysis, 95% priority setting, 85% activities planning, 75% network creation, and 25% new projects creation. Moreover, they had the courage to give one’s opinion, be a leader, give an advice, and teach other people. They were also able to persuade people to participate in events and get together.

Discussion, the team has many statuses that can make the work cover youth, middle age, and old age. The team’s vision provides the obvious aim, determination, responsibility, and managing well.  The participation in group discussion is to manage the environment to be suitable for health care cooperation, community analysis, decision and activities planning which leads to experience exchange. All of these are to empower the health promotion team.

Suggestion, in the future, network extension or front extension and participation in local organization are needed in order to establish public policy. The progression of activities plan and community development is to be supported for getting healthiness by social driven process.

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างทีมสร้างเสริมสุขภาพที่เข้มแข็ง                 ทีมดำเนินการและประเมินผลการดำเนินการ วิธีดำเนินการวิจัย จัดเวทีกลางให้ผู้เข้าร่วมมาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างทีมสร้างเสริมสุขภาพ กำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาทีม ทีมวิเคราะห์ชุมชน วางแผนเขียนโครงการ ดำเนินโครงการ และประเมินผลโครงการ

ผลการวิจัย ได้ทีมสร้างเสริมสุขภาพมี 22 คน มีวิสัยทัศน์ว่า “ร่วมใจสามัคคี จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง” จัดทำโครงการ 3 โครงการ ทีมเข้าร่วมเวทีกลาง 12 ครั้ง เฉลี่ย 15 คน/ครั้ง แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย  ผลการประเมินทีม ร้อยละ 80 สามารถค้นหาปัญหาได้ ร้อยละ 85 วิเคราะห์ข้อมูลได้ ร้อยละ 95 จัดลำดับความสำคัญได้ ร้อยละ 85 วางแผนได้ ร้อยละ 75 สร้างเครือข่ายได้ ร้อยละ 25 คิดทำโครงการใหม่ๆ ได้ ทีมกล้าแสดงความคิดเห็น เป็นผู้นำ แนะนำและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น ติดต่อวิทยากร ชักจูงผู้อื่นมาเข้าร่วมกิจกรรม และมีความสามัคคีกัน

อภิปราย ทีมมีความหลากหลายตามสถานะภาพ ทำให้การดำเนินงานครอบคลุมทั้งกลุ่มวัยรุ่น วัยกลางคน และวัยสูงอายุ วิสัยทัศน์ทำให้มีทิศทางร่วมกันที่ชัดเจนเกิดความมุ่งมั่น ทีมมีความรับผิดชอบ มีการบริหารจัดการที่ดี การมาร่วมเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วม ดูแลสุขภาพ การร่วมกันวิเคราะห์ชุมชน ตัดสินใจ คิดวางแผนทำกิจกรรม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมดเป็นกระบวนการสร้างเสริมทีมให้เข้มแข็ง

ข้อเสนอแนะ ควรขยายแนวร่วม/ เครือข่าย รวมทั้งการประสานกับองค์กรท้องถิ่นเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ ความต่อเนื่องของกิจกรรมและการพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องการการสนับสนุน เพื่อให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมที่มุ่งสู่สุขภาวะดี

Downloads