การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยใช้การจัดการรายกรณีในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี (The Development of Postoperative Care System: Case Management Model in Surgical Intensive Care Unit, Sappasithiprasong Hospital, UbonRatchathani)

ผู้แต่ง

  • Wanpen Dongmala
  • Orachon Malahom

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด การจัดการรายกรณี postoperative care system, case management model

บทคัดย่อ

The purpose of this research was to develop and analyze the case management model of postoperative care for mechanically ventilated patients at Surgical Intensive Care Unit, Sappasittiprasong Hospital, UbonRathchathani during October, 2009 - May 2010. The case management model of the postoperative care was developed by 12 members of multidisciplinary party including surgeons, anesthesiologists, nurses and physical therapists. The caring team included 35 members of health professions to deliver designed system to 60 postoperative-mechanically ventilated patients at Surgical Intensive Care Unit. The quantitative data were collected by questionnaires that established by our team. The descriptive statistic was used to analyze the data, i.e. frequency, percentage, mean score and standard deviation. As a result, the guidelines of care for postoperative- mechanically ventilated patients by multidisciplinary team provided practices of weaning ventilator, managing patients’ pain, preventing ventilator association pneumonia (VAP). The outcomes in the patients indicated increasing success of weaning the ventilation from 92.5% to 94.8%, decreasing numbers of patients’ self extubation from 12.3% to 3.3% and decreasing incidence of VAP from 3 cases to none. The average time of patients on ventilator was reduced from 23.8 hours to 20.6 hours, as well the length of stay declined from 2.9 days to 2.3 days. There was no patient readmitted to SICU within 48 hours. The satisfaction of patients improved from 81.6 % to 86.6 %, and the satisfaction of health care providers increased from 74% to 85%. The achievement factors of this study were the increase in multidisciplinary collaboration, the systematic change of care for patients, thus the patient care was prompt, continuing, safe and efficient, and the system of monitoring and evaluation.  The suggestions of this study were to apply this case management model of postoperative care for mechanically ventilated patients to other surgical intensive care units. In addition, we need to develop case manager role and networks of patients’ care system during pre/ post operation and discharge, in order to decrease mortality and re-admitted rate, clinical risks and complications.

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยใช้การ จัดการรายกรณีในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่ร่วมพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดประกอบด้วย แพทย์ ทั้งศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ พยาบาล วิสัญญีพยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และพยาบาลผู้จัดการรายกรณี จำนวน 12 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ระบบต่างๆ พยาบาลประจำห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม วิสัญญีพยาบาล นักกายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่หน่วยเครื่องมือแพทย์ จำนวน 35 คน และผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 60 คน ดำเนินการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 – กรกฎาคม 2553 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบเก็บรวบรวมข้อมูล และแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยและพัฒนา ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติของทีมสหสาขาในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งในด้านการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และการจัดการความเจ็บปวด เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วย คือ อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จเพิ่มจากร้อยละ 92.5 เป็น ร้อยละ 94.8 อุบัติการณ์ดึงท่อช่วยหายใจลดลงจาก             ร้อยละ 12.3 (9/73 ครั้ง) เป็น ร้อยละ 3.3 (2/60 ครั้ง) อุบัติการณ์เกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลงจาก 3 ราย เหลือ 0 ราย ไม่พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยย้ายกลับห้องผู้ป่วยหนักภายใน 48 ชั่วโมง ส่วนระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลงจาก 23.8 เป็น 20.6 ชั่วโมง ระยะเวลานอนเฉลี่ยในห้องผู้ป่วยหนักลดลงจาก 2.9 วัน เป็น 2.3 วัน ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพิ่มจากร้อยละ 81.6 เป็น 86.6 และความพึงพอใจของบุคลากร เพิ่มจากร้อยละ 74 เป็น 85 ปัจจัยความสำเร็จของการศึกษา ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งจากการจัดการรายกรณีที่ทำให้เกิดการประสานงานในทีมสหสาขา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ

Downloads