ภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในชุมชนหนานเหมียน เมืองหนานหนิง มลฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน(Health Profile of Older Chinese People in Nanmian Community, Nanning, Guangxi, People’s Republic of China)

ผู้แต่ง

  • Fei Li
  • Penchun Lertrat
  • Wanapa Sritanyarat

คำสำคัญ:

ภาพสุขภาพ ผู้สูงอายุ ชุมชน ประเทศจีน Health profile, older people, community, China

บทคัดย่อ

This cross-sectional survey study aimed to describe the health profile of older Chinese people in Nanmian community, Nanning, Guangxi, People’s Republic of China. Multistage sampling was used to obtain 201 older subjects from Nanmain community. Data were collected by using questionnaire and standard assessment tools. Descriptive statistics was used for data analysis.

Results: 1) Demographic characteristics: Most of the 201 older people were females (53.7%), aged 60-69 years (53.2%), had middle school education (28.9%), were industrial workers (48.8%), and had no work after retirement (53.2%); 2) Physical health: Most of older people perceived their health as fair (48.2%), and as the same as others of the same age (50.7%). Older people had an average of 1.36 diseases. The most prevalent diseases found were: hypertension, diabetes mellitus, and rheumatoid arthritis or osteoporosis. The most common illnesses found were: pain, weakness/fatigue and vertigo/syncope. The top five geriatric problems reported were vision problems, sleep problems, memory loss, hearing problems, and urinary incontinence. Health behaviors: Most of the subjects ate three meals per day (89.6%), did not smoke (88.6%), did not drink (81.1%), and did exercise more than three times per week (64.2%). Physical function: The Barthel ADL Index (BAI) showed 29.9% were dependent in ADLs. The most dependence in IADLs were: laundry, money management and telephone, respectively; 3) Mental health: 30.9% had depression and 23.5% were identified as having cognitive impairments; 4) Social health: Most of the subjects were married (70.1%), lived in a 2-room apartment (80.1%), lived with family members (34.8%), and did not participate in any social activities (76.6%). Family was the main source of social support of older people. Most of them got material and instrumental support more from sons than daughters, but got financial support more from daughters than sons. This study provides baseline information which is beneficial for planning holistic health care and community aged care to meet the demands of older persons in Nanning, Guangxi, People’s Republic of China.

การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายภาพสุขภาพของผู้สูงอายุชาวจีนในชุมชนหนานเหมียน เมืองหนานหนิง มลฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้ผู้สูงอายุ จำนวน 201 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และเครื่องมือประเมินมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 

ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะประชากร จากผู้สูงอายุ 201 คนพบว่า ส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 53.7) อายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 53.2) จบการศึกษาระดับมัธยมต้น (ร้อยละ 28.9) เคยมีอาชีพทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม (ร้อยละ 48.8) และไม่ได้ทำงานหลังเกษียณอายุ (ร้อยละ 53.2) 2) สุขภาพกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ รับรู้สุขภาพตนเอง ว่าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.3) และรับรู้ว่าสุขภาพตนเองเหมือนกับคนอื่นในวัยเดียวกัน (ร้อยละ 50.7) ผู้สูงอายุเป็นโรค เฉลี่ย 1.36 โรคต่อคน โรคที่พบบ่อย คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และข้ออักเสบหรือรูมาตอยด์  ความเจ็บป่วยที่พบ คือ อาการปวด อ่อนเพลีย/อ่อนล้า และหน้ามืด/เป็นลม ปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุที่พบบ่อย คือ การมองเห็น การนอนหลับ การสูญเสียความทรงจำ การได้ยิน และอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่รับประทานอาหารวันละสามครั้ง (ร้อยละ 89.6) ไม่สูบบุหรี่ (ร้อยละ 88.6) ไม่ดื่มสุรา (ร้อยละ 81.1) และออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 64.2) การทำหน้าที่ด้านร่างกาย ผลการประเมิน BAI พบว่า ร้อยละ 29.9 มีภาวะพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน ผลการประเมิน IADL พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพา เรื่อง การซักรีดเสื้อผ้า การจัดการเรื่องเงิน และการใช้โทรศัพท์ 3) สุขภาพจิต ผู้สูงอายุร้อยละ 30.9 มีภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 23.5 มีภาวะการรู้คิดบกพร่อง 4) สุขภาพสังคม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 70.1) อาศัยอยู่กับครอบครัวในอาคารพักแบบสองห้อง (ร้อยละ 80.1) โดยอยู่กับสมาชิกของครอบครัว  (ร้อยละ 34.8) และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ชอบเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม (ร้อยละ 76.6) และพบว่าครอบครัวเป็นแหล่งสนับสนุนที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนหลักด้านอุปกรณ์-สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจากบุตรชายมากกว่าบุตรสาว แต่จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากบุตรสาวมากกว่าบุตรชาย การศึกษานี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการดูแลแบบเป็นองค์รวมและในการจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน เมืองหนานหนิง มลฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

Downloads