ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายของนักเรียนชั้นประถมศึกษา(Effects of Chikungunya Prevention Program in Primary School Students)

ผู้แต่ง

  • Jirapa Siriwatanamethanon
  • Supatra Buatee
  • Jolyon L.A. Dodgson

คำสำคัญ:

ไข้ปวดข้อยุงลาย ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลาย Chikungunya disease, knowledge, attitude, practice perception

บทคัดย่อ

A quasi-experimental research was carried out to compare the knowledge, attitude, and practice perception to prevent transmission of and infection by chikungunya among primary school students at Ban Ladsabua school, Amphur Yangtalad, Kalasin province. The differences of knowledge, attitude, and practice perception score before and after participating in the health education program were determined by paired t-test.

The findings revealed positive impacts of health education program on knowledge, attitude, and practice perception for preventing transmission of and infection by chikungunya at with a significant differences at p<0.05. Following health education, knowledge score at 11-14 from 20 score increased from 1.5% to 13.7%, attitude at the excellence level increased from 66.7% to 75.8%, and practice perception for preventing chikungunya disease score at 13-18 from 18 score increased from 77.3% to 84.8%.

Health education about chikungunya can improve knowledge, attitude, and practice perception for preventing the disease. It is recommended that health professionals should focus their practice on providing health services to support learning opportunities. The more people know about the disease and how to avoid infected by and transmission of communicable diseases, the better of transmission control; so appropriate management of disease transmission should be implemented.

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้การปฏิบัติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้ปวดข้อยุงลาย ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านลาดสระบัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ทัศนคติและการรับรู้การปฏิบัติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้ปวดข้อยุงลายโดยใช้สถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า หลังรับความรู้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 13.7 ทัศนคติระดับดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.7 เป็นร้อยละ 75.8 และได้คะแนนการรับรู้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้ปวดข้อยุงลาย เพิ่มจากร้อยละ 77.3 เป็นร้อยละ 84.8 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้การปฏิบัติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้ปวดข้อยุงลาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

การให้ความรู้ทำให้ คะแนนความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้ปวดข้อยุงลาย เหมาะสมขึ้น พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพควรมีการจัดบริการเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนชนมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่อื่นๆซึ่งจะทำให้การดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

Downloads