การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนสู่การดูแลแบบหุ้นส่วนเพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่ที่บ้านของวัยแรงงานที่เป็นเบาหวาน Community Learning Process Development in Creating Family Partnershipto Minimize Cigarette Smoke Exposure at Home for Informal Workers with Dia
Main Article Content
Abstract
บุหรี่เป็นภัยเงียบที่คุกคามต่อสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนสู่การดูแลแบบหุ้นส่วนเพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่ที่บ้านของวัยแรงงานที่เป็นเบาหวาน ศึกษาใน 9 ชุมชน ของอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มี 2 วงรอบๆ 4 ขั้นตอน 1) ประเมินสถานการณ์การสัมผัสควันบุหรี่โดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) วางแผนและพัฒนาเครื่องมือปฏิบัติการ โดยกำหนดแนวปฏิบัติร่วมและการพัฒนาหุ้นส่วนชุมชนผ่านการประชุมระดมสมองและค้นหาต้นแบบครอบครัวแรงงานที่ลดและเลิกบุหรี่ 3)พัฒนาหุ้นส่วนชุมชนปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลแบบหุ้นส่วนและการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างครอบครัว อสม. ผู้นำและบุคลากรสุขภาพ 4) ประเมินผลผ่านการทบทวนการทำงานและสะท้อนคิดผลการปฏิบัติ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวานวัยแรงงานที่สูบบุหรี่130 คนผู้ดูแลแรงงานที่ป่วยเบาหวาน130 ครอบครัว อสม.และผู้นำชุมชน 90 คน บุคลากรสุขภาพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย ก่อนดำเนินการพบครอบครัววัยแรงงานที่ป่วยเบาหวานมีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ร้อยละ 70 จาก130ครอบครัวและผู้ป่วยทุกรายสัมผัสควันบุหรี่ทุกวันจากบ้านตนเองและข้างบ้านที่สูบบุหรี่ มีประสบการณ์ลดการสัมผัสควันบุหรี่โดยการเดินหนี แสดงปฏิกิริยารังเกียจบุหรี่ เข้าห้องปิดประตูหน้าต่าง บอกให้ไปสูบที่อื่นและขอให้หยุดสูบ แต่ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ หลังดำเนินการจากการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สะท้อนคิดและเรียนรู้ร่วมกับครอบครัวผ่านการสนทนากลุ่ม พบว่า เกิดการดูแลแบบแบบหุ้นส่วนในชุมชน ได้แก่ 1) การค้นหาครอบครัวแรงงานต้นแบบและนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังจนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 2) ครอบครัวมีการปรับทัศนคติต่อควันบุหรี่ที่มีผลต่อการรักษาและควบคุมโรคเบาหวาน 3) การเจรจาด้วยความจริงใจช่วยสร้างความตระหนักให้ลดการสูบบุหรี่ 4) สร้างกฎบ้านเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวปลอดภัยจากควันบุหรี่และการอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูล
ผลลัพธ์ พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกครอบครัวแรงงานที่เป็นเบาหวาน ดังนี้ 1) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในบรรยากาศที่อบอุ่นมีอิสระในการพูดคุย 2) มีทักษะการเป็นผู้ช่วยเหลือ การสร้างแรงจูงใจ และให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ โดยบูรณาการความรู้จากประสบการณ์ครอบครัวต้นแบบและสร้างแนวปฏิบัติการอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลไร้ควันบุหรี่ 3) สร้างกติกาการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนบ้านทำให้เกิดเขตปลอดบุหรี่ที่บ้าน 4) มี15 ครอบครัวลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ มี 1 ครอบครัวสามารถหยุดบุหรี่เกิน 3 เดือน มี 12 ครอบครัวลดจำนวนบุหรี่เหลือ 2-3 มวนต่อวัน อสม.และผู้นำชุมชน 50 คน มีทักษะในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่