ปัจจัยทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรก(Factors Predicting Parenting Stress in Mothers of Infants)
คำสำคัญ:
ความเครียดในการเลี้ยงดูบุตร วัยขวบปีแรก infant care, parenting stress, self-efficacy, social supportบทคัดย่อ
Parenting infants during the first year may cause mothers to experience accumulated stress with subsequent negative impacts on parenting behaviors. Therefore, to develop nursing interventions to help reduce parenting stress in mothers the predictive factors of parenting stress should be known. The objective of this study was to examine the predictors of parenting stress in mothers. The study sample consisted of 104 mothers who brought infants aged 6-12 months to receive health supervisions and vaccinations at the Well Child Clinic, Chonburi Hospital, Chonburi Province. Data were collected using interviewing form for personal information and a set of self-administered questionnaires. Data were analyzed with descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis.
According to the findings, all of the independent variables, that is, maternal age, education, number of infants requiring care in the same house, perceived self-efficacy in infant care, parenting support, maternal occupation, and easy-difficult child were together accounted for the 27% of the variance explained in the parenting stress. The significant predictors included parenting support (b = -.25, p < .05), and perceived self-efficacy in infant care (b = -.23, p < .05), while the other variables were unable to predict the parenting stress.
This study pointed out the importance of maternal confidence in parenting capabilities and parenting support to parenting stress. Nurses should arrange activities or programs to build confidence in parenting capabilities when mothers returned to provide care for infants at home in order to reduce the stress of mothers and promote family members to understand and participate in parenting children. Nursing activities may be organized in forms of providing education and advices on parenting.
การเลี้ยงดูเด็กวัยขวบปีแรกอาจนำมาซึ่งความเครียดของมารดาได้ และถ้าหากความเครียดมีการสะสมมากขึ้นย่อมส่งผลลบต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูตามมาได้ในภายหลัง การจัดกิจกรรมพยาบาลเพื่อช่วยลดความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรนั้น ควรที่จะต้องทราบปัจจัยทำนายความเครียดในการเลี้ยงดูบุตรก่อนซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาที่นำบุตรอายุ 6 เดือน – 12 เดือน มารับการตรวจรักษาและรอรับภูมิคุ้มกันที่แผนกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 104 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามมารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาของมารดา จำนวนบุตรที่ต้องดูแลในบ้านเดียวกันขณะปัจจุบัน การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลทารก การสนับสนุนทางสังคมในการเลี้ยงดูบุตร ลักษณะอาชีพของมารดา ความเป็นเด็กเลี้ยงยาก-ง่าย สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรกได้ร้อยละ 27 เมื่อพิจารณาแต่ละตัวแปร พบว่า การสนับสนุนทางสังคมในการเลี้ยงดูบุตรสามารถทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.25, p < .05) รองลงมาคือ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลทารก (b = -.23, p < .05) ส่วนตัวแปรอื่นไม่สามารถทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรได้
การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของความเชื่อมั่นของมารดาในความสามารถของตนเองที่ต้องดูแลทารกและการสนับสนุนทางสังคมในการเลี้ยงดูเด็ก ที่มีต่อความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตร พยาบาลควรจัดกิจกรรมหรือโปรแกรมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการดูแลทารกเมื่อมารดากลับไปดูแลทารกเองที่บ้านเพื่อช่วยลดความเครียดของมารดา พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคคลใกล้ชิดและบุคคลในครอบครัวเข้าใจมารดาและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร โดยอาจจัดกิจกรรมการพยาบาลในลักษณะของการให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลบุตรแก่บุคคลเหล่านี้