การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ Perceived Risks, Perceived Barriers, and Safe Food Consuming Behavior among Pregnant Women

ผู้แต่ง

  • ปวินตรา มานาดี
  • เกสรา ศรีพิชญาการ
  • ยุพิน เพียรมงคล

บทคัดย่อ

สตรีตั้งครรภ์จัดอยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากขณะตั้งครรภ์การทำหน้าที่ของภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ลดต่ำลง มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยจากอาหารเป็นสื่อได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกตามมา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงและการรับรู้อุปสรรค กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 194 ราย เครื่องมือหลักที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากอาหารเป็นสื่อในสตรีตั้งครรภ์ (r=0.81) แบบวัดการรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ (r=0.81) และแบบวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ (r=0.78)

                ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความเสี่ยง ( =30.14, S.D.=4.23 คะแนนเต็ม 48 คะแนน) การรับรู้อุปสรรค ( =23.40, S.D.=5.58, คะแนนเต็ม 51 คะแนน) และพฤติกรรมการบริโภค ( =66.15, S.D.=8.24 คะแนนเต็ม 102 คะแนน) มีคะแนนอยู่ในระดับสูง ปานกลาง และสูงตามลำดับ พฤติกรรมการเลือกร้าน อุปกรณ์ และภาชนะอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง จากสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า พฤติกรรมการบริโภคมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเสี่ยง (r = .17,  p < .05) และการรับรู้อุปสรรค (r = -.35, p < .01)

                ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าควรมีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากคะแนนยังไม่ถึงระดับสูงมาก โดยการประเมินพฤติกรรม การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้อุปสรรค ตลอดจนมีการให้สุขศึกษาให้ครอบคลุมทั้งหมวดการบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่อย่างปลอดภัย หมวดการบริโภคอาหารปลอดภัยโดยทั่วไป  และหมวดการเลือกร้าน อุปกรณ์ และภาชนะอย่างปลอดภัย โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับหมวดสุดท้าย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11