ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(Effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients)
คำสำคัญ:
ดนตรีบำบัด ความปวด ความวิตกกังวล music therapy, cancer pain, anxietyบทคัดย่อ
This study was based on experimental research method and randomized controlled trail was to determine the effect of music therapy on anxiety and pain in cancer patients. The conceptual framework for this study was constructed based on physiological and psychological pain theories. The sample group of 80 patients receiving chemotherapy was drawn by the selection criteria from a population of patients admitted in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University during the period between May 2010 and Sebtember 2011. All 80 subjects are randomly assigned to receive either music therapy (n=40) or no music therapy (n=40). This study will be used block randomization; allocation sequence will be generated by computer. Experiment group: The patients listened the music through headphones for 30 minutes in the morning and evening for 2 days a total of four sessions and the control group who received nursing care as usual. Demographic data and music preference data will be collected after the experiment group had agreed to participate in the study. Anxiety and pain will be completed before the music therapy session and after the 2nd and 4th music therapy session. In the control group, the patients received standard nursing care; the same instruments except satisfaction for using music therapy questionnaire. Data were analyzed for repeat measures analysis of variance to compare pain score and anxiety score between the cancer patients receiving music therapy and no music therapy. The results of this study show that: patients who received music therapy had significantly lower scores in anxiety and pain than patients, who did not receive the music therapy, (F=10.39, P<0.05; MD -0.83, 95%CI -1.34 to-0.32; F=4.76, P<0.05 MD -0.75, 95%CI -1.43 to-0.07
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบทดลอง ชนิด Randomized control trial เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ คือ ทฤษฎีความปวด กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 80 คน ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2553 -กันยายน 2554โดยเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด ด้วยวิธีสุ่มโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบ Blok randomized control trial แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง ( 40 คน) และกลุ่มควบคุม ( 40 คน) กลุ่มทดลอง จะได้รับฟังดนตรีบำบัดทางหูฟัง ครั้งละ 30 นาที ในตอนเช้าและเย็น จำนวน 2 วัน รวม 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน จะได้รับดูแลตามปกติจากพยาบาลประจำการ หลังจากนั้นกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มทดลอง จะได้รับการประเมินข้อมูลพื้นฐานและความชอบในการฟังดนตรี ความวิตกกังวล ความปวด ก่อนฟังดนตรีบำบัด และ หลังฟังดนตรีครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความปวด และความวิตกกังวล ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการประเมินความวิตกกังวลก่อนหลังการได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาล ในวันที่ 1 และในวันที่ 2 และได้รับการประเมินความปวดเช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ repeat measures analysis of variance เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความปวด และความวิตกกังวล ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลวิจัย พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนความปวด และความวิตกกังวล ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=10.39, P<0.05; MD -0.83, 95%CI -1.34 to-0.32; F=4.76, P<0.05 MD -0.75, 95%CI -1.43 to-0.07 ตามลำดับ)