ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ The effect of Health Promotion Program on Applied Folk Art Plong Stick Exercise and Social Support toward Quality of Li

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย โพธิ์ศรี
  • บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์

คำสำคัญ:

การออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้าน การสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ, applied folk art plong stick exercise program, social support, quality of life, elderly.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental) แบบสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง          (pretest – posttest control groups design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครโดยเลือกแบบเจาะจง  จำนวน 102   คนโดยแบ่งคนกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 51 คน  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 14 ท่า ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต (WHOQOL – BREF –THAI)      โดยผ่านการตรวจสอบความเหมาะสม ความตรงตามเนื้อหาและความถูกต้องของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน  ทดสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค (Cronbach’ s Alpha Coefficient)  มีค่าความเชื่อมั่น 0.86  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired t-test

                ผลการศึกษา พบว่า  ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังการทดลอง (M= 97.3, SD = 9.5) สูงกว่าก่อนทดลอง (M= 63.5, SD = 8.5) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม ก่อนและหลังทดลอง ของผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง   ( D1 = 33.78, SD = 9.2 ) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ  (D2 = 11.17, SD = 3.8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                จากผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11