ความหมายและการวัด“ความผาสุกทางจิตวิญญาณ” ในงานด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ: งานทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบหลังแผนพัฒนาขององค์การอนามัยโลกปี 2015

ผู้แต่ง

  • ชินัณ บุญเรืองรัตน์

คำสำคัญ:

ความหมาย การวัด ความผาสุกทางจิตวิญญาณ สังคมศาสตร์สุขภาพ, definition, measurement, spiritual well-being, social healthcare

บทคัดย่อ

ความผาสุกทางจิตวิญญาณ (Spiritual Well-being) เป็นหนึ่งในมิติสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและได้รับการคาดหวังในวงการสุขภาพโดยเฉพาะการพยาบาลผู้ป่วยแต่คำจำกัดความที่ชัดเจนกับยังไม่เคยถูกระบุเอาไว้อย่างเป็นทางการ

                วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมความหมายจากเครื่องมือที่นักวิจัยใช้วัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ

                วิธีการวิจัย: การทบทวนวรรณกรรมตามหลักเกณฑ์ PRISMA ได้นำมาใช้กับบทความจากสองฐานข้อมูลได้แก่ ScienceDirect และ Springer ช่วงระหว่างปีพ.ศ.2558-2560 จากบทความที่ระบุชื่อบทความชัดเจนด้วยคำว่าความผาสุกทางจิตวิญญาณจะถูกนำมาศึกษามิติการใช้ความหมายผ่านเครื่องมือที่นักวิจัยใช้วิจัยในการศึกษา

                ผลการศึกษา:  จาก 11 บทความที่นำมาวิเคราะห์มบทวนและ 9 แบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณที่พบนั้น แบบวัดที่มีชื่อว่า SWBs และ FACIT-Sp12 ถูกนำมาใช้มากที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการยอมรับความเชื่อและการนับถือส่วนบุคคล, ความหมายของชีวิต, ประสบการณ์ด้านจิตวิญาณและการรับมือกับความเจ็บป่วยเป็นมิติด้านความหมายที่พบได้มากที่สุดในแบบวัดฯตามลำดับอย่างไรก็ตามการมีอัตลักษณ์ตัวตนเป็นความหมายที่พบได้เพียงแค่ในแบบวัด SWBs เท่านั้น

                อภิปรายและข้อเสนอแนะ: งานทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้สามารถใช้เป็นแนวทางที่ช่วยประหยัดเวลาในการเลือกใช้แบบวัดให้ตรงกับกลุ่มประชากรที่ต้องการศึกษา จากผลการศึกษางานทบทวนวรรณกรรมนี้นำข้อมูลมาจากเพียง 2 ฐานข้อมูลและวิเคราะห์จากบทความที่ระบุหัวข้อชัดเจนด้วยคำว่าความผาสุกทางจิตวิญญาณ ดังนั้นงานวิจัยในลำดับต่อไปสามารถศึกษาทบทวนการคำจำกัดความระหว่างความหมายที่นักวิจัยต้องการและมิติความหมายของแบบวัดฯเพื่อศึกษากรอบแนวคิดและความเข้าใจในความผาสุกทางจิตวิญญาณจากนักวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11