ปัจจัยที่สนับสนุนการติดเชื้อและความรุนแรงการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง Influence Factors and Severity of Infections within the Cancer Patient
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการติดเชื้อและความรุนแรงการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 126 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย 2) แบบบันทึกการติดเชื้อของผู้ป่วยมะเร็ง และ 3) แบบบันทึกความรุนแรงการติดเชื้อผู้ป่วยมะเร็งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเจ็บป่วย ปัจจัยสนับสนุนต่อการติดเชื้อ ความรุนแรงการติดเชื้อผู้ป่วยมะเร็ง โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งติดเชื้อจากชุมชนที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 91ราย (ร้อยละ72.2) และผู้ป่วยมะเร็งติดเชื้อในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย (ร้อยละ 27.8) พบปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง แบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ
ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 57 ราย (ร้อยละ 45.2) BMI ต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5 kg/m2) จำนวน 44 ราย (ร้อยละ 34.9) และมีระดับ ECOG score ในระดับ 1 จำนวน15 ราย (ร้อยละ 11.9) ส่วน Karnofsky status พบว่าอยู่ในระดับเท่ากันระหว่าง ร้อยละ 60 และ ร้อยละ 70 มีจำนวน 27 ราย(ร้อยละ 21.4) และจำนวน 28 ราย (ร้อยละ 22.2) Hemoglobin ส่วนใหญ่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (<12 g/dl) จำนวน94 ราย (ร้อยละ 74.6)
ปัจจัยด้านความเจ็บป่วย พบว่า ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง Head and Neck cancer มากที่สุด จำนวน 57 ราย (ร้อยละ45.2) รองลงมาเป็น Breast cancer 28 ราย (ร้อยละ22.2) อยู่ในระยะที่ 4 จำนวน 95 ราย (ร้อยละ75.4) มีแผล Moist desquamation จำนวน 66 ราย (ร้อยละ 52.4) แผลมะเร็ง จำนวน 60 ราย (ร้อยละ 47.6) มีโรคร่วมจำนวน 41 ราย (ร้อยละ 32.0) เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุดจำนวน 34 ราย (ร้อยละ 82.9) รองลงมาเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 14 ราย (ร้อยละ34.1)
ปัจจัยด้านการรักษา พบว่า ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง จำนวน 86 ราย (ร้อยละ 68.3) เคมีบำบัด จำนวน 7 ราย (ร้อยละ 5.6) รักษาทั้งการฉายแสงและเคมีบำบัด จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 8.7)
ความรุนแรงของการติดเชื้อ พบว่า จำนวนผู้ป่วยมีไข้ 94 ราย (ร้อยละ74.6) ไข้มากกว่า 3วันขึ้นไป จำนวน 62 ราย (ร้อยละ 65.9) รวมระยะเวลาการมีไข้เฉลี่ย 9.86 วัน สอดคล้องกับผลการตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีการติดเชื้อจำนวน 62 ราย (ร้อยละ65.9) แบ่งเป็นจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 เซลล์/ลบ.มม จำนวน 34 ราย (ร้อยละ 26.9) จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 4,000 เซลล์/ลบ.มม จำนวน 17 ราย (ร้อยละ 13.5) และ ผู้ป่วยมีจำนวนนับของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิล (neutrophils) ในเลือด (absolute neutrophil count: ANC) น้อยกว่า 2000 เซลล์/ลบ.มม จำนวน 11ราย (ร้อยละ 8.7) เป็นกลุ่มผู้ป่วย Sepsis จำนวน 61 ราย (ร้อยละ64.9) และ Septic shock จำนวน 1 ราย (ร้อยละ1.1) สภาพการจำหน่ายแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน จำนวน 95 ราย (ร้อยละ 75.4) จำหน่ายเสียชีวิต จำนวน 14 ราย (ร้อยละ 11.1)
จากผลการวิจัยสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของการติดเชื้อ ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งได้