ความจำในผู้ป่วยสุราที่มีภาวะติดสุราเรื้อรัง Memory in Patients with Chronic Alcoholism

ผู้แต่ง

  • นรากร สารีแหล้
  • เสรี ชัดแช้ม

บทคัดย่อ

การดื่มสุราในปริมาณที่มากเป็นเวลานานจนกลายเป็นการดื่มแบบติด (Alcohol dependence) เมื่อดื่มหนักต่อเนื่องกันหลายปี ในผู้ที่ติดสุราพบว่ามีขนาดของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเล็กลง  ทำให้สูญเสียการสื่อสารด้วยวาจาและความจำ จนก่อให้เกิดกลุ่มอาการทางสมองที่ทำให้สมองมีการสูญเสียความทรงจำที่เรียกว่า Wernicke - Korsakoff  Syndrome หากยังคงดื่มสุราต่อไปก็อาจเกิดโรคสมองเสื่อมจากสุราได้

ในปัจจุบัน มีผู้นิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมากและเกินขนาดจนเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดสุรา1  จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า การดื่มสุรานำไปสู่การเสพติดแอลกอฮอล์ (Alcohol addiction)  โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) เกิดปัญหาต่อระบบต่างๆของร่างกาย2 ที่สำคัญที่สุด คือ แอลกอฮอล์มีผลต่อระบบประสาท การดื่มแอลกอฮอล์ระยะสั้นทำให้สูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ในขณะนั้นได้ สับสน (Confusion) เดินเซ (Ataxia) ส่วนผลของการดื่มแอลกอฮอล์ระยะยาวทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy) ความจำเสื่อม (Dementia) และ Wernicke– Korsakoff Syndrome คือ เกิดจากการไม่สามารถดูดซึม Vitamin B13 เป็นต้น

การติดสุรามีผลกระทบต่อสมองทั้งความบกพร่องที่มีต่อระบบประสาทและโครงสร้างทางสมอง ความรุนแรงในระดับต่างๆขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปในร่างกาย4 จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่าการใช้แอลกอฮอล์อย่างยาวนาน (Chronic alcohol use) ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความจำระยะสั้น ระบบประสาทด้านการรู้คิด (Neurocognitive) บกพร่อง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความจำเสื่อม5  รวมถึงมีผลกระทบต่อความสามารถในการบริหารจัดการ (Executive function) และยังพบว่าการทำงานของสมองส่วนนี้ลดลงโดยสัมพันธ์กับปริมาณของการดื่มสุราอย่างหนัก6 จากการประเมินทางจิตประสาทวิทยาทำให้ทราบถึงแนวโน้มความเสื่อมและความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน ป้องกัน ส่งเสริม และพัฒนาการบำบัดรักษาที่มีการฟื้นฟูความจำของผู้ป่วยสุราได้

References

ความจำในผู้ป่วยสุรา ภาวะติดสุราเรื้อรัง การฟื้นฟูความจำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11