ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภา(Effects of Health Promotion Program on Health Promoting Behaviors, Absolute Neutrophils Count, Infection Rate, and Quality of Life of Persons with Breast Cancer Receiving Chemotherapy)

ผู้แต่ง

  • Thongdech Prasertsri
  • Ampaporn Namwongprom
  • Nam-Oy Pakdevong

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนเม็ดเลือดขาว อัตราการติดเชื้อ คุณภาพชีวิต Health Promotion Program, Health Promoting Behaviors, Absolute Neutrophils Count, Infection Rate, Quality of Life

บทคัดย่อ

This study aimed to investigate the effects of health promotion program on health promoting behaviors; absolute neutrophils count (ANC), infection rate, and quality of life of persons with breast cancer receiving chemotherapy. Health promotion model (Pender, 1996) was used as a conceptual framework to develop the program. Target population were women with breast cancer who received chemotherapy regimen AC at out-patient department of MahaVajiralongkorn Cancer Center between December 2010 - July 2011. Purposive samples of 41 subjects were received for this study, 20 received the program and 21 receive a usual care. The tools used for program intervention included, health promotion program, lesson plan, role model for health promotion, health promotion manual for women with breast cancer receiving chemotherapy. The instruments used to effect data were personal information sheet, health promotion behavior questionnaire, quality of life question, and research record forms. Chi-square, Mann-Whitney U test, Wilcoxon Signed Rank Test and Paired t-test were used to analyze data. The findings revealed that health promoting behaviors scores and ANC of patients receiving the program were significantly higher than that of patients receiving a usual care. Never the less, infection rate and quality of life between the two groups were not significantly different. The findings show the benefits of the program. Further research should increase number of sample in order to compare the rate of infection.

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนเม็ดเลือดขาว (ANC) อัตราการติดเชื้อ และคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร AC แบบผู้ป่วยนอก งานผู้ป่วยนอก ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 – กรกฎาคม 2554 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 41 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 21 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ แผนการสอน ต้นแบบ  และคู่มือส่งเสริมสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบบันทึกข้อมูลผลการทดลอง และแบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  Chi-square, Mann-Whiteney U test, Wilcoxon Signed Rank Test และ Paired t-test

ผลวิจัย พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมหลังเข้าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000)  ANC ของกลุ่มที่เข้าโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .036)  อัตราการติดเชื้อ และคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน (p = .488 และ .401 ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-05-09