การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชายในโรงพยาบาล ระดับทุติยภูมิโดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Development of a Care Model for Male Stroke Patients in Secondary Hospital Using A Participatory Action Research)
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชาย วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Care Model, Male stroke patients, Participatory Action Researchบทคัดย่อ
A participatory action research was adopted in this study to develop a care model for male stroke patients in the secondary hospital. The study was conducted betaween April 2009 and July 2010 in a medical unit. The participants included registered nurses who worked in the medical unit, multidisciplinary team, fifteen stroke patients who had actibity of daily living in moderate and severe dependence (Barthel ADL Index scores between 20 and 70) and fifteen caregivers. The results of situational analysis were found that the existing stroke care services didn’t adhere to the established guidelines because an assignment for responsible was not clear, lacking of coordinate with multidisciplinary team about patients’ care after admission. Patients and their caregivers needed to know disease, care plan and prognosis. Because of work overload, nurses could not give information and train their patients sufficiently before discharge. Patients were sent to physical therapy and studied for make Blenderized only one time before discharge, made stroke patients and their caregivers felt unconfident. As the results, the research team designed several interventions to address these problems by develop a care model for stroke patients in the medical unit by multidisciplinary teams for 5 days duration. A care model was implemented for 15 stroke patients and 15 their caregivers. The result showed that activity of daily living (ADL) scores of the stroke patients in discharge day were significantly increasing compared to the scored reports in admission day (p<.05). The satisfaction levels of stroke patients and caregiver were at high set level (73.33%). The patients had not complication in discharge day. The average length of stay of stroke patients was 5.13 days, the average health care cost was 7,010.27 baht per time. These findings suggest that the care model developed from multidisciplinary team was appropriate and efficient for improving activities of daily living of stroke patients, decreasing complication, and increasing satisfaction level.
การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยชายโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ในระหว่างเดือนเมษายน 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2553 โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยชายโรคหลอดเลือดสมองที่มีระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลระดับปานกลางถึงมาก โดยมีค่าดัชนีบาร์เธล เอ ดี แอล 25 ถึง 70 คะแนนจำนวน 15 ราย และผู้ดูแลจำนวน 15 ราย ผลการศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในบริบทที่ศึกษาพบว่า การปฏิบัติจริงยังไม่ครอบคลุมตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดไว้ เนื่องจากผู้รับผิดชอบยังไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างชัดเจน ขาดการประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพเมื่อมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องการทราบเกี่ยวกับโรคที่เป็น แนวทางการดูแล และโอกาสในการหายจากโรค จากภาระงานที่มากในแต่ละเวรทำให้การให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายยังไม่เพียงพอ การส่งผู้ป่วยเพื่อทำกายภาพบำบัดหรือส่งเรียนทำอาหารทางสายยางมีเพียงครั้งเดียวก่อนจำหน่าย ทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความมั่นใจ มีความต้องการทักษะและข้อมูลต่างๆ เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างมั่นใจ จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจึงได้ร่วมกันพัฒนางานเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยการสร้างรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับหอผู้ป่วยอายุรกรรม จากทีมสหสาขาวิชาชีพ กำหนดระยะเวลา 5 วันนอน ผลการทดลองปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลจำนวน 15 คู่ พบว่าความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวันจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากวันแรกรับเข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับระดับมากที่สุดร้อยละ 73.3 ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในวันจำหน่าย ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลมีระยะวันนอนรักษาเฉลี่ย 5.13 วันต่อครั้ง ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 7,010.27 บาทต่อครั้ง ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ ช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ