ผลของวิธีเบ่งคลอดต่อผลลัพธ์การคลอดและความเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอดของมารดาที่คลอดครั้งแรก (The Effects of Pushing Techniques on Birth Outcome and Postpartum Fatigue Among Nulliparous Women)

ผู้แต่ง

  • Atitthan Taedaengpe
  • Nilubon Rujiraprasert
  • Wichuda Chaisiwamongkol

คำสำคัญ:

วิธีการเบ่งคลอด ความเหนื่อยล้าระยะหลังคลอด ผลลัพธ์การคลอด pushing technique, spontaneous pushing, birth outcomes, postpartum fatigue

บทคัดย่อ

The coached pushing technique is used as standard delivery care in the second stage of labor in hospital.              A randomized control trial using the posttest only control group design was used for this study. The purpose was to determine the effects of pushing techniques on birth outcomes, including pushing time, type of delivery, neonatal status, and postpartum fatigue after 2, 12, 24 hour. Sixty-six nulliparous, who has normal pregnancy, were randomized to either a control group or an experimental group (33 women each group). Women in the control group were informed and supported in using coached pushing technique, while the experimental group women were informed and supported in pushing spontaneous technique. Data were collected using pregnancy and labour data record and postpartum fatigue questionnaire. Data were analyzed using t-test, Chi-Square and Mann-Whitney U-test.

Results of the study revealed that the experimental group had significantly shorter mean pushing time than the control group (p<.001). After the birth, the experimental group had significantly less median postpartum fatigue score than the control group at 2 hour after delivery (p<.05). No significant differences were found between the two groups in type of delivery, Apgar score, and postpartum fatigue score in 12, 24 hour. In conclusions, spontaneous pushing technique helps decrease pushing time and postpartum fatigue, and safe for both mother and newborn. It should be promoted to use with women during the second stage of labour.

การเบ่งคลอดภายใต้การชี้นำของผู้ดูแลการคลอดมีการถูกนำมาใช้ และเป็นมาตรฐานการดูแลการคลอดในระยะที่สองของการคลอดในโรงพยาบาลทั่วไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบวัดหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของวิธีการเบ่งคลอดต่อผลลัพธ์ของการคลอด ได้แก่ ระยะเวลาเบ่งคลอด ชนิดการคลอด สภาพทารกแรกเกิด และความเหนื่อยล้าภายหลังคลอด 2, 12 และ 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีการตั้งครรภ์ปกติและเข้าสู่ระยะคลอด จำนวน 66 ราย สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 33 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการสนับสนุนให้เบ่งคลอดแบบชี้นำ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนให้เบ่งคลอดแบบเบ่งเองตามธรรมชาติ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด และแบบวัดความเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบที การทดสอบไคสแคว์ และสถิติทดสอบแมนวิทนี่ยู

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาเบ่งคลอดสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) มีค่ากลางคะแนนความเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมงน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนสัดส่วนการคลอดปกติทางช่องคลอด และสภาพทารกแรกเกิดทั้งนาทีที่ 1 และนาทีที่ 5 ภายหลังคลอด รวมถึงค่ากลางคะแนนความเหนื่อยล้าในระยะ 12 และ 24 ชั่วโมงหลังคลอดระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p >.05)  สรุปได้ว่าวิธีการเบ่งคลอดแบบเบ่งเองตามธรรมชาติเป็นวิธีการเบ่งคลอดที่ช่วยลดระยะเวลา เบ่งคลอดและความเหนื่อยล้าของผู้คลอดในระยะแรกหลังคลอด มีความปลอดภัยต่อทั้งผู้คลอดและทารกในครรภ์ ซึ่งควรมีการสนับสนุนให้นำมาใช้ในการดูแลผู้คลอดในระยะที่ 2 ของการคลอด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-05-09