การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียนในถิ่นทุรกันดาร เขตชายแดนไทย- ลาว (Development of Health Promotion System for Pupils in Remotest Area, Borderline Thailand and Loa PDR)
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพ เด็กวัยเรียนในถิ่นทุรกันดาร develop health promoting system, pupils in remotest areaบทคัดย่อ
This participatory action research aimed to develop health promoting school in 7 Border Patrol Police Schools located in the remote area of Udorn Thani and Nong Kai Provicen, Northeast, Thai-Lao border. Health assessment of the school kids was performed. Data were collected regarding healthcare services that the children currently received. Children who were found to have health problems received home visits for in-depth interview including both children and parents. Home environment and healthcare behaviors for children at home were observed during a home visit. After the initial data were collected, the researcher team presented a need to develop health behaviors to the community leaders and parents in order to analyze the causes and develop a healthcare plan. The data was shown to the educational committee to initiate the health promotion program for school-aged kids cooperatively. Volunteers of this research project included students, parents, community leaders, teachers, healthcare providers, and researchers.
Results from health assessment showed that students from all participating schools had underweight problem although the study area was a nutrient-rich resource. Summary from a public forum of the community members stated that children’s underweight was a result several causes relating to other health problems such as dental caries, head louse, parasites, poor hygiene, child neglecting, and raw food consumption.
Participatory actions among community members, school teachers, health workers, and researchers were carried out by educating parents and children using booklet that was developed according to the community's suggestions. Focus group discussion among parents was conducted to confirm agreement in the group. Leaders of students, housewives, were demonstrated and trained until they were able to help children. Moreover, a project summary meeting was conducted every 2 months to discuss a strategies planning for health behavior change among children and parents. It was found that the number of those who had parasites and head louse decreased dramatically as a result of proper treatment. Researchers and community leaders had the same opinion that the problems might reoccur again if there is no health behavior change. Therefore, schools, community, and families need to continue health promotion program.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มุ่งพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียนใน 7โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในถิ่นทุรกันดาร ตามตะเข็บชายแดนไทย-ลาว เริ่มจากการประเมินสุขภาพนักเรียน และบริการสุขภาพที่นักเรียนได้รับ ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ร่วมกับการสังเกตสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กนักเรียนของครอบครัว หลังจากนั้นได้นำเสนอปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสุขภาพเด็กต่อที่ประชุมผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง เพื่อร่วมวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดแนวทางการดูแลสุขภาพนักเรียน และได้นำข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน มีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู ทีมสุขภาพ และนักวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกสุขภาพนักเรียน แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและแนวคำถามในการจัดประชุมในชุมชน นอกจากนั้นยังได้ศึกษาจากเอกสารบันทึกสุขภาพย้อนหลัง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับชุมชนตลอดการวิจัย
จากการตรวจสุขภาพ พบว่า นักเรียนของทั้ง 7 โรงเรียน มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ แม้พื้นที่ศึกษานี้มีความอุดมสมบูรณ์ และจากการประชุมหมู่บ้านได้สรุปร่วมกันว่า ปัญหานี้เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ได้แก่ ฟันผุ เป็นเหา มีพยาธิ ร่วมกับการมีสุขวิทยาไม่ดี ไม่สวมรองเท้า ผู้ปกครองขาดความสนใจและนิยมรับประทานอาหารดิบเป็นตัวอย่างและพาเด็กร่วมรับประทาน
การปฏิบัติการร่วมระหว่างชุมชน โรงเรียน ศูนย์สุขภาพชุมชนและคณะผู้วิจัย โดยให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กโดยมีคู่มือที่สร้างขึ้นจากความต้องการของชุมชนเป็นสื่อ สร้างความเข้าใจด้วยการสนทนากลุ่มผู้ปกครอง สร้างแกนนำนักเรียนและแกนนำกลุ่มแม่บ้านรวมถึงผู้ดูแลเด็กโดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติจนสามารถแนะนำนักเรียนได้ นอกจากนั้นยังมีการร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานทุก 2 เดือน เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง
หลังการดำเนินงาน 1 ปี พบว่า นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดลงเล็กน้อย แต่ปัญหาที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือ การเป็นพยาธิและเหา เนื่องจากมีการตรวจและรักษา อย่างไรก็ตามผู้วิจัยและชุมชน เห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพนักเรียน โดยเครือข่ายแกนนำและบุคลากรด้านสุขภาพ ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งร่วมกำหนดแผนและให้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยโรงพยาบาลและมีการส่งต่อข้อมูลให้โรงเรียน ผู้นำชุมชนและครอบครัวเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง