ผลของโปรแกรมการส่งเสริมรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกัน การเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต Effects of a self – efficacy promotion program on metabolic syndrome prevention behaviors among Rangsit University personnel

ผู้แต่ง

  • รัชนีภรณ์ ณ ถลาง
  • นงนุช เดชจบ
  • อัญอานันท์ ยันตะพันธ์
  • โกสุม เศรษฐาวงศ์
  • ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ได้แก่ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 56 ราย (กลุ่มทดลอง 28 ราย และกลุ่มควบคุม 28 ราย) โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่พัฒนาตามทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Mann-Whitney U test

ผลการวิจัยพบว่าคะแนนการส่งเสริมรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมด้านการบริโภคอาหาร และด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบวงเอว ระหว่างมทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าไม่แตกต่างกัน มีเพียงค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P=.027)  อย่างไรก็ตามเพื่อให้ประสิทธิผลในโปรแกรมเพิ่มขึ้นควรมีการควบคุมตัวแปรอื่นที่มีอิทธิพลร่วม แบบแผน การรับประทานอาหาร และรูปแบบกิจกรรมการออกกำลังกายที่ชัดเจน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01