ปรับเปลี่ยนทิศทางความคิด: กลยุทธ์เพื่อเข้าสู่การเป็นแม่ของนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ

ผู้แต่ง

  • บุญมี ภูด่านงัว
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

คำสำคัญ:

experience, being a mother, strategy, schoolgirls who became pregnant unintentionally, qualitative research ประสบการณ์, การเป็นมารดา, กลยุทธ์, นักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

This qualitative research was a path of the study to experiences of being a mother from the schoolgirls, who became pregnant unintentionally. The objective of this study was to understand and explain the process of being a mother of those schoolgirls who became pregnant unintentionally since they known that they were pregnant until fourth (4th) month after birth. The study was undertaken by using a qualitative research and to collect data by in-depth interviews in accordance with the principles of theoretical sampling until theory saturation from the 22 participants. The data was analyzed by the concept of Strauss and Corbin1. Results of the study demonstrate that self transformation to be a mother is the process of those schoolgirls who became pregnant unintentionally. This can be classified into three (3) phase: 1) Surrender to be pregnancy and to become a mother: the starting point to be a mother 2) Preparing for raise a child and 3) To create a new balance in  life.

However, in this article the researcher only present a strategy to respond to surrender to be pregnancy and to become a mother, this is where the condition can not be denied, but, is reluctantly to be accepted. By having the strategy to change the direction of ideas for adjust the balance between the new state and the old state and to accept the new life. This is under the context and conditions of beliefs about birth and pregnancy termination, receiving the social support, the interaction between the participants with the fetus and the accumulation of the experience in caring for children before. The nurse should encourage those schoolgirls who became pregnant unintentionally, soon sense the feeling of being a mother and to ensure them with confident to positively move in to they New- Being as a mother.

 

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาประสบการณ์การเป็นมารดาของนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายกระบวนการของการเป็นมารดาในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ นับตั้งแต่รับรู้ว่าตั้งครรภ์จนถึง 4 เดือนหลังคลอด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตามหลักการเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎี จากผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งหมด 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Strauss and Corbin 1 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นกระบวนการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อเป็นแม่ของนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจำแนกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) จำยอมตั้งครรภ์ จำใจเป็นแม่: จุดเริ่มต้นของการเป็นแม่ 2) เตรียมความพร้อมเพื่อเลี้ยงดูลูก และ 3) สร้างสมดุลในชีวิตใหม่

ทั้งนี้ ในบทความนี้ ผู้วิจัยนำเสนอเฉพาะกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อภาวะจำยอมตั้งครรภ์ จำใจเป็นแม่ในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ปฏิเสธไม่ได้ แต่ยอมรับแบบไม่ค่อยเต็มใจ โดยมีกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนทิศทางความคิด เพื่อปรับสมดุลระหว่างสภาวะใหม่และสภาวะเดิม ประกอบด้วย 1) หาเหตุผลให้ยอมรับสภาวะใหม่ 2) ปรับเปลี่ยนมุมมอง และ 3) สร้างกำลังใจให้ตนเอง และการยอมรับสภาวะใหม่ เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ภายใต้บริบทและเงื่อนไขของความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดและการยุติการตั้งครรภ์ การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ข้อมูลกับทารกในครรภ์ และประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กที่เคยสะสมมาก่อน ดังนั้น พยาบาลควรส่งเสริมให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจเกิดความรู้สึกของการเป็นแม่โดยเร็ว ร่วมกับสร้างความมั่นใจในการเข้าสู่สภาวะใหม่ของชีวิต

 

Author Biography

บุญมี ภูด่านงัว

Associate Professor

Downloads