ผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิต่อความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิต ในผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์
คำสำคัญ:
depression, quality of life, cognitive behavioral group therapy, meditation, people living with HIV/AIDS ความซึมเศร้า คุณภาพชีวิต กลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม การฝึกสมาธิบทคัดย่อ
Abstracts: This quasi-experimental study aimed to determine the effects of cognitive behavioral group therapy (CBT) and meditation on depression and quality of life (QOL) people living with HIV/AIDS (PLWHAs). The subjects were PLWHAs at the infectious clinic, Out-patient department in Srinagarind hospital. A sample of 24 PLWHAs was purposively selected. divided the sample into the experimental and control groups with an equal size. Data were collected during January 2, 2010 to May 31, 2011 and analyzed using Mann-Whitney U Test. Results revealed that at immediate post-intervention, participants who received CBT and regular nursing care combined meditation showed significantly lower scores in depression and higher scores in QOL than did the control group. At 6-month follow-up were not statistically significant in depression and QOL between both groups. Results from this study suggested that combine CBT and meditation is alternative nursing care for depressed and poor QOL patient with HIV/AIDS. Application of CBT combine meditation for PLWHAs holds promise of increasing QOL and relieving depression.
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิต่อความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตในผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 24 คน แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ 2 มกราคม 2553 - 30 พฤษภาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายในข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างและ การทดสอบยูของแมน-วิทนีย์ ผลการวิจัย เมื่อประเมินความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตภายหลังการศึกษาทันที พบว่ากลุ่มที่ได้รับการทำกลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิและการพยาบาลตามปกติ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) เมื่อติดตามประเมินที่ 6 เดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในคะแนนความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิต
กลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิ เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ การนำกลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิไปใช้ในผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ควรคงไว้เพื่อลดความซึมเศร้าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์