การศึกษาสถานการณ์การพัฒนาสวัสดิการชุมชนสำหรับแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์มอญผ่านกลไกประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มมิตรมอญ: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะธิดา นาคะเกษียร
  • ฤดี ปุงบางกะดี่

คำสำคัญ:

การพัฒนาสวัสดิการชุมชน, แรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์มอญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ วิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนในกลุ่มแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์มอญ เพื่อนำสู่การออกแบบการพัฒนาสวัสดิการชุมชนสำหรับแรงงานข้ามชาติ  ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเข้าใจถึงมุมมองวิธีคิดต่างๆ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับในการพัฒนาสวัสดิการชุมชนสำหรับแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมอญ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ชนิดวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography)  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ สัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interviews) สังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วม(Participant observation) และไม่มีส่วนร่วม (Non- participant observation) การสนทนากลุ่ม (Focus group) ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (document) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาสวัสดิการชุมชนสำหรับแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์มอญ จำเป็นที่จะต้องมีชุดข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ 1) ชุดข้อมูลที่สะท้อนถึงปัญหาขณะดำเนินชีวิตในประเทศไทย ได้แก่ ชุดข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพและระบบบริการสุขภาพ  ปัญหาด้านภาษาและการสื่อสารปัญหาด้านสิทธิและกฏหมาย ปัญหาด้านการศึกษา และ ปัญหาด้านความปลอดภัย  2) ชุดข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในขณะอาศัยอยู่ในประเทศไทย  ได้แก่  ชุดความรู้เรื่องสิทธิ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติชาวมอญ  และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการการพัฒนาสวัสดิการชุมชน จะต้องประกอบด้วย 1) แกนนำกลุ่มมิตรมอญ 2) กลุ่มสมาชิกแรงงานข้ามชาติชาวมอญ  3) ผู้นำทางศาสนา 4) วิทยากร/พี่เลี้ยงจากองค์กรต่างๆ และ 5) เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด ได้แก่  สำนักงานแรงงานจังหวัด องค์กรแรงงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้น

ปัจจัยเงื่อนไขที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสวัสดิการชุมชน ได้แก่  วิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ของแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์มอญ  กลไกการดำเนินงานของกลุ่มมิตรมอญ สถานการณ์และปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่องค์กรต่างๆ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหา  การมีแกนนำหลักและเครือข่าย  รวมถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมในเรื่องสวัสดิการ ในส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาสวัสดิการชุมชน คือ อุปสรรคในเรื่องของเวลา ที่ทำให้แกนนำไม่มีเวลาที่จะมาประชุมหรือร่วมกิจกรรมได้ทุกการเรียนรู้  รวมถึงอุปสรรคในเรื่องภาษาและการสื่อสาร ระหว่างแกนนำกับสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอก

The purpose of this research is to analyze of the situation and the possibility of establishing community welfare for Mon migrant workers leading to the design and development of community welfare for migrant workers. Therefore, to achieve learning and better understand the perspectives of stakeholders at all levels in the development of community welfare for Mon migrant workers, the researchers choose to use qualitative research by ethnographic research methodologies. Data were collected using in-depth interviews, participant and non-participant observation, focus groups, and data documentation. Content analysis was used to analyze the data.

The results indicated community welfare development for Mon migrant workers required a set of important data, including  the following: 1) a set of information that reflecting the  problems of living and working  in Thailand consisting of the data sets regarding, health and health care service systems, language and communication issues, rights and legal issues, educational and security issues; 2) a set of data about the need for good quality of life while living in Thailand, including:   knowledge of rights and laws related to the Mon migrant workers. Persons involved in development of community welfare must comprise the following: 1) leaders of the Mon friendship group 2) members off Mon migrant workers groups 3) religious leaders 4) trainers/ caregivers from various organizations and 5) government officials and private sector organizations both at the local and provincial level, including provincial labor offices, labor organizations, public health officials and non-formal education centers, etc.

The conditions supporting the development of community welfare comprised the lifestyle, ideas and beliefs of Mon migrant workers, mechanisms of action for the Mon friendship group, the situation and the problems of migrant workers to which various organizations give interest in solving problems, practicing leadership and networks, including the process of creating a common understanding of developmental benefits for community welfare. The factors hindering the development of community welfare comprised time barriers which prevented leaders from having time to attend meeting or participate in every learning activity, including language and communication barriers between leaders, members and external stakeholders.

 

Downloads