พฤติกรรมและผลกระทบเกี่ยวกับบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการซื้อ และผลกระทบหลังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ใช้ในการวิจัยเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาวิจัยทางการพยาบาล ประชากรที่ศึกษา คือประชาชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งหมด 12 หมู่บ้าน 2,293 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน ในตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เลือกจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 341 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยและคณะได้พัฒนามาจากแบบสำรวจ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา(Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 64.5 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 38 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 64.5 สมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกันส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 4 – 6 คน คิดเป็นร้อยละ 65.4 ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 34.6 รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 23.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.8 มีรายได้ส่วนตัวเฉลี่ย 7482 บาท ต่อเดือน และมีรายได้ครอบครัวอยู่ระหว่าง 5,000 – 9,999 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 36.7 และมีรายได้ต่อครอบครัวเฉลี่ยเดือนละ11,739.35 บาท
ด้านพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อายุที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งแรกส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 10 - 19 ปีคิดเป็นร้อยละ 59.4 อายุเฉลี่ย 19 ปี สาเหตุส่วนใหญ่คือ เพื่อนชักชวน เฮฮากับเพื่อนฝูง คิดเป็นร้อยละ 61.5 ความถี่ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในช่วง 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 25.1 ปริมาณการดื่มแต่ละครั้งส่วนใหญ่ 1 - 2 แก้ว/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.2 ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เลือกดื่ม 3 ลำดับแรกคือ เบียร์ เหล้าสี และเหล้าขาว ตามลำดับ ที่นิยมดื่มมากที่สุด คือเบียร์ (ร้อยละ 38.8) โอกาสที่เลือกดื่มมากที่สุด คือ เทศกาลปีใหม่ คิดเป็นร้อยละ 83.1 สถานที่ที่ดื่มส่วนใหญ่คือที่บ้านของตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 84.0 บุคคลผู้ร่วมดื่มมากที่สุด คือเพื่อนสนิท คิดเป็นร้อยละ 78.4 สถานที่ในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มีความสะดวกมาก สามารถเดินไปได้ คิดเป็นร้อยละ 66.0 ส่วนใหญ่หาซื้อได้ตามร้านขายของชำ/โชว์ห่วยทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 51.8 ผลกระทบหลังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้านเศรษฐกิจพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 71.0 เฉลี่ยเดือนละ 701.4 บาทต่อครัวเรือน ผลกระทบด้านอุบัติเหตุ พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุคือ เมาแล้วขับหลังการดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 51.2 ประสบอุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 20.7 คือ ลื่น หกล้ม และเดินชนของ คิดเป็นร้อยละ 62.9 ผลกระทบด้านสุขภาพ พบว่ามีการเจ็บป่วยเป็น
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางระบบประสาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ผลกระทบด้านการทำงาน พบว่า ขาดงานเนื่องจากดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 16.0 โดยมีจำนวนวันที่ขาดงานเฉลี่ย 2 วัน
ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยพบว่าช่วงอายุทีดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ อยู่ในช่วงอายุ 10 - 19 ปี อายุเฉลี่ย 19 ปี และอายุที่น้อยที่สุดที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นครั้งแรกคือ 10 ปี ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนรณรงค์เพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยเด็ก โดยควรมีการจัดรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นไปที่นักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุในช่วง 10 – 19 ปี เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงโทษภัยมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง ในเยาวชนทั่วไปควรมีการรณรงค์เกี่ยวกับ การลด ละ เลิก การบริโภค สนับสนุนเกี่ยวกับ การมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่มเยาวชน เช่น การเล่นกีฬา เพื่อช่วยลดการบริโภคและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาชนตำบลหนองไผ่
Abstract
This survey research was to study the behaviors of alcoholic beverage consumption, purchased behavior, and the effected after alcoholic beverage consumption of the people. The sample size were 341 families selected by the populations in Nongphi community by using Taro Yamane Formula. The research instrument was the questionnaires that has been developed from the survey of behaviors and the alcoholic consumption behavior from convenient store. The research instruments was checked the content validity by 3 expertise’s. The reliability showed 0.73 and the data were analyzed by descriptive statistic ( Frequency, percentage, Mean)
The result of research discovered that. The alcoholic beverage consumption behavior , first time of alcohol use started at the range of 10 – 19 years old was 59.4%. The main caused, they was invited by friends for the cerebrations was 61.5%. The frequency of alcohol used was in the range of 1 – 2 glass/time was 35.2%. The first three alcoholic beverage consumptions were beer, whisky, white whisky(40 degree alcohol) concentrated as followed was 38.8%. The most occasion to use alcoholic beverage was New year cerebration was 83.1%. And drink with close friends was 78.4%. The shop where could easily buy the alcoholic beverage was easy to access and could go on foot was 66.0%. Can easily buy from the convenient shop was 51.8%. The effects after the alcohol was orally taken. The researchers discovered that most of the people could afford to buy the alcoholic beverage and the cost was in the range of 100 – 500 bath/month. The effects to the accident was showed that the accident from drunk driving was 51.2%. And used to face with accident after alcohol used was 20.7%, Such as falling down was 62.9%. The effects to the health discovered that illness related to alcoholic disease such as gastritis, Hypertension and neurological disease were 4.4% the effects to the career showed that who used the alcohol may be missed the work was in the range of 1 - 2 days was 51.9%.
The information provided to primary health care and the related company for planning to decrease the range of the started age to consume the alcohol emphasis on the teenagers, students to aware of the alcohol disadvantage resulted in considerable to giving the information or activities such as sport, music and free time
Keywords : alcoholic beverage consumption, effected after alcoholic beverage
Consumption, populations in Nongphai community