ผลของการให้การพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนต่อพฤติกรรม การบำบัดรักษาในผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่ม Club Drugs

ผู้แต่ง

  • ญาดา จีนประชา
  • วัชรีย์ แจ่มกระจ่าง
  • สยาม วัยนิพิฐพงษ์
  • สุดารัตน์ คุ้มเงิน
  • กชพร เผือกผ่อง

คำสำคัญ:

Neuman systems model, Club drugs dependence patients, Nursing intervention แผนการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน, ยาเสพติดกลุ่ม Club Drugs

บทคัดย่อ

This quasi-experimental study aimed to compare effects of therapeutic behaviors among club drugs dependence patients. Purposive sampling technique with inclusion criteria was carried out to identify 60 target patients who were in the treatment stage. They were squally assigned into a control group (n = 30) and a experimental group (n = 30). The control group consisted of patients who received regular nursing care while the experimental group received nursing care based on the Neuman systems model. The research instruments included nursing care plan based on the Neuman systems model were measured by the self-efficacy recognition questionnaires, the family support questionnaires and the follow up of relapse behavior. The questionnaires were assessed  by experts for content validity and  had  cronbach’s alpha coefficient reliability of .79 and .82 for the self-efficacy recognition and for  the family support questionnaires respectively. The data was collected before and after  nursing intervention as well as at a and follow up after discharge in the first, second and third month. Data were analyzed  using percentage, mean, standard deviation, paired t - test, and independent t - test. The results revealed that after the study, the experimental group who received the nursing care based on the Neuman systems model had a statistically significant increase of  self-efficacy recognition, family support which also were higher than the control group. (p – value <.05) and non-relapsing behaviors after being discharge in the first, second and third month was higher than that the control group.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของพฤติกรรมการบำบัดรักษาในผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่ม Club drugs ระหว่างกลุ่มที่ให้การพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นตอนการบำบัดรักษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ  และกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของ      นิวแมน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของ นิวแมน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว และแบบติดตามพฤติกรรมการเสพซ้ำ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ได้เท่ากับ .79 และแบบสอบถามการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวได้เท่ากับ .82  เก็บข้อมูลก่อนและหลังการได้รับการพยาบาลและติดตามผู้ป่วยหลังการจำหน่ายในระยะเวลา 1 เดือน 2  เดือนและ 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนจากครอบครัว ของผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่ม Club drugs กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมการเสพซ้ำของผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่ม Club drugs หลังจำหน่าย 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือนพบว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนมีจำนวนต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

Downloads