การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากการปลูกดอกไม้เพื่อร้อยมาลัย
คำสำคัญ:
Health impact assessment, pesticide, community participation การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
This participatory action research (PAR) was conducted to promote community participation in the assessment of health hazards and develop a learning process to prevent health hazards associated with using chemical herbicides in garland-flower gardening. Health Impact Assessment (HIA) was used to generate an evidence-based recommendation to inform further intervention. The researcher encouraged all participants which consisted of flower-glowers, community leaders, health volunteers, public health personnel and an agricultural specialist to participate in all HIA steps and also throughout the intervention phase to prevent and alleviate negative health impacts resulting from using herbicides in garland-flower gardening. Data analyses were completed with descriptive statistics and content analysis.
Results indicated that the flower glowers planted flowers around their residential area. Chemical herbicide usage in flower farming resulted in excessive chemical residues in the glowers bodies which led to many illnesses. These included skin rash, itchy and irritated eyes, burning sensation of the nose, palpitation, indigestion, bloating, malaise, and muscle weakness and numbing. In addition, changes in physical environment of the community were evident. The soil was scented with chemicals and became non-fertile. Natural water resources were less habitable and reducing number of wild lives was observed. These led to increasing fear of negative health impacts that could affect community members who were not involved in the chemical use. Lastly, there was a conflict in the community because chemical herbicide use disturbed other work sectors and resulted in labor migration to avoid chemical inhalation.
Participants’ cooperative learning efforts had mobilized community resources to formulate interventions that raised the awareness and enhanced the flower glowers skills. Key intervention activities included 1) enhancing the glowers’ self-protection skill from chemical herbicide use, 2) promotion of agricultural biotechnology, and 3) public policies to prohibit chemical use within the community limits and encouraging flower farming outside the community. Three months after the project implementation the flower glowers adopted safer behaviors for chemical herbicide use. The serum level of chemical residue decreased. Health volunteers and community leaders became surveyors of chemical misuse. Flower glowers switched to biological fertilizers and biological herbicides. The flower glowers had founded a flower farming union and an organic farming demonstration site was created in the community. It can be concluded that this participatory action research leads to a learning process from one’s own experience and results in cooperative problem solving among the community members.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพัฒนากระบวนการดำเนินงานป้องกันปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากการปลูกดอกไม้เพื่อร้อยมาลัย ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือในการประเมินปัญหา ผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ชาวสวนดอกไม้ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และนักวิชาการเกษตร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพรายบุคคล 2) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แนวทางการจัดเวทีเสวนา 4) แนวทางการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบทางสุขภาพได้แก่ 1) อาการที่เกิดจากการใช้สารเคมี เช่น ผื่นคันตามผิวหนัง คันตา น้ำตาไหล ระคายเคืองจมูก แสบจมูก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น ท้องอืด แน่นท้อง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ชาและกล้ามเนื้ออ่อนล้า 2) ด้านสุขภาพจิตและจิตวิญญาณส่วนมากรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการเจ็บป่วยของตนเองและครอบครัวจากผลกระทบของสารเคมี 3) ด้านสังคมเกิดความขัดแย้งเนื่องจากรู้สึกไม่พอใจเมื่อมีการใช้สารเคมี ทำให้รบกวนการทำงานของคนในชุมชน ต้องย้ายที่ทำงานไปยังที่อื่นๆเพื่อหลบหนีกลิ่นสารเคมี 4) ด้านสิ่งแวดล้อมอากาศมีกลิ่นสารเคมี ดินเสียมากขึ้น แหล่งน้ำธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลง สัตว์ตามธรรมชาติน้อยลง ต้นไม้ที่เคยเกิดตามธรรมชาติกลายพันธุ์
จากการเรียนรู้ร่วมกันทำให้เกิดการระดมทรัพยากรในชุมชนมาพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักและพัฒนาทักษะให้เกษตรกรได้แก่ 1) เสริมสร้างทักษะเกษตรกรในการป้องกันสารเคมี 2) ส่งเสริมการเกษตรชีวภาพ 3) กำหนดนโยบายสาธารณะห้ามใช้สารเคมีในชุมชนและส่งเสริมให้มีการปลูกนอกชุมชน หลังดำเนินการ 3 เดือนพบว่าชาวสวนดอกไม้มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ระดับสารเคมีตกค้างในร่างกายลดลง มีกลุ่มเฝ้าระวังโดย อสม. และผู้นำชุมชน และพบว่าชาวสวนมีการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น มีเครือข่ายชาวสวนดอกไม้ และมีแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในชุมชน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้ชาวสวนดอกไม้ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองนำสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน