คุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และผู้ด้อยโอกาสที่พิการ ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
Quality of Life Caregiver’s advantage persons with disabilities คุณภาพชีวิต ผู้ดูแล ผู้ด้อยโอกาสที่พิการบทคัดย่อ
This research was descriptive approach the objective for study the quality of life’s Caregiver and persons with disabilities at Tambon Wangsang Mahasarakham Province. A tool use in the research be the quality of life questionnaire. it is reliability get 0.87 confidence levels. The sample were 59 from Caregiver and persons with disabilities of advantage . The data analytical statistics were frequency, percentage, means and standard deviation.
1) Quality of life's caregiver overall were the moderate level (= 3.49, S.D = 0.79) The dimensions are high level of quality of life compose family , social ,mental health , and physical(= 3.91-3.66, SD = 0.73-0.78 ) The dimensions are moderate level of quality of life compose environment , economy and mental health. (= 3.38-2.94, SD = 0.74-0.89 ) Quality of life's caregiver lays 5 least of level the rank. It show problem about of the want to escape from reality , feelings of frustration , decrease of income ,stressing anxiety in caretaker the disabilities and The smell of dust and noise on a regular basis frequently.(= 1.81-2.54, SD = 0.91-0.95)
2) Quality of life for people with disabilities overall were the moderate level (= 3.49, S.D = 0.79) The dimensions are high level of quality of life compose social and physical.(= 3.91-3.66, SD = 0.77-0.78) The dimensions of moderate level of quality of life compose mental health. (= 2.94, SD = 0.84) Quality of life's persons with disabilities have level lays 5 least the rank. It show problem about of complication with disease ,not receive alternative treatment , illness to be treatment from professional ,irritability and anger and non caregiver to help at all times (= 2.27-3.15, SD = 1.13-1.41)
CONCLUSION : Based on these results, Organization that has direct responsibility and Srimahasarakham Nursing College use this research for planning to help and home-visit for increase quality of life’s caregiver and persons with disabilities together,too.
การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษา1)คุณภาพชีวิตของผู้ดูแล2)คุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสที่พิการ ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดของผู้ดูแลและผู้ด้อยโอกาสที่พิการ จำนวน 59 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2553 โดยคณะผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เองและมีการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างตามขั้นตอนจริยธรรมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้ดูแล 6 องค์ประกอบและคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสที่พิการ 3 องค์ประกอบโดยคณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านมีค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1)คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(=3.49,S.D = 0.79) โดยพบว่า ด้านครอบครัว สังคม และร่างกาย มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (= 3.91-3.66, SD = 0.73-0.78 ) ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และจิตใจ มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง(= 3.38-2.94, SD = 0.74-0.89 ) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ได้แก่ รู้สึกอยากหนีไปจากสภาพความเป็นจริง รู้สึกว่าตนตกอยู่ภายใต้สิ่งบีบคั้น การดูแลผู้พิการ ทำให้มีรายได้ลดลง มีความเครียดหรือวิตกกังวลในการดูแลผู้พิการ การได้รับฝุ่น กลิ่นเหม็น เสียงดัง เป็นประจำ(= 1.81-2.54, SD = 0.91-0.95)
2)คุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสที่พิการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.49,S.D = 0.79) โดยพบว่า ด้านสังคม และร่างกาย มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (= 3.91-3.66, SD = 0.77-0.78) ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง(= 2.94, SD = 0.84) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ได้แก่ มีโรคแทรกซ้อน ไม่ได้รับการรักษาแพทย์ทางเลือก เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษา หงุดหงิด โมโหง่าย และไม่มีผู้คอยช่วยเหลือตลอดเวลา (= 2.27-3.15, SD = 1.13-1.41)
การวิจัยครั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสงและวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนบริการวิชาการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ด้อยโอกาสที่พิการของตำบลวังแสง วางแผนการติดตามเยี่ยมบ้านให้ตรงตามปัญหาและความต้องการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ด้อยโอกาสที่พิการของตำบลวังแสง ให้ดีขึ้น