ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตและการจัดการกับอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารภายหลังการได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • อำภาพร นามวงศ์พรหม
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

SELF-CARE PROGRAM, SELF-CARE ABILITY, QUALITY OF LIFE, AND GI SYMPTOMS MANAGEMENT, CHEMOTHERAPY โปรแกรมการดูแลตนเอง, ความสามารถในการดูแลตนเอง, คุณภาพชีวิต, การจัดการกับ อาการแสดงทางระบบทางเดินอาหาร, เคมีบำบัด

บทคัดย่อ

This prospective intervention study aimed to investigate the effect of self-care ability, quality of life, and GI symptoms management of patients receiving chemotherapy. A purposive sample of 8 patients with colorectal cancer receiving chemotherapy at the surgical ward was recruited for this study. Orem’s self-care theory was used as a conceptual framework. The participants received the program comprising self-care knowledge and support during hospitalization and at home for 3 months. Instruments used to collect data included self-care ability, quality of life questionnaires, and GI symptoms record form. Data were analyzed by using paired t-test and Wilcoxon signed-rank test.

The findings showed that self-care ability scores and quality of life scores before and after the program were significantly different (p =.027, .036 respectively). Seven participants reported GI symptoms during hospitalization and 2 reported while were at home. All were able to manage symptoms. The findings benefit to nursing care of patients with colorectal cancer receiving chemotherapy. Replication is suggested to confirm the effectiveness of the program.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Prospective Intervention study เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองต่อ ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต และการจัดการกับอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่ได้รับการผ่าตัดและรักษาด้วยเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม จำนวน 8 ราย เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้และการสนับสนุน ขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้านเป็นระยะเวลา 3 เดือน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตรวมทั้งแบบบันทึกการจัดการกับอาการแสดง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและ Paired t-test และ Wilcoxon Signed-Rank Test

ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต หลังได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดแตกต่างจากก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.027 และ p =.036 ตามลำดับ) ผู้ป่วย 7 ราย มีอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารระหว่างอยู่โรงพยาบาลและ2 รายมีอาการอยู่ที่บ้าน และสามารถจัดการกับอาการแสดงของตนเองได้ ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับเคมีบำบัด ควรมีการทำวิจัยซ้ำเพื่อยืนยันประสิทธิผลของโปรแกรม

 

Downloads