อาการคันตามผิวหนัง กลวิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ ตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

ผู้แต่ง

  • พนัชญา ขันติจิตร
  • นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

คำสำคัญ:

itching/ pruritus/ cholangiocarcinoma/ symptom management คัน / อาการคันตามผิวหนัง / ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี / การจัดการอาการ

บทคัดย่อ

The purpose of this descriptive study was to investigate pruritus, management strategies and outcomes as perceived by persons with cholangiocarcinoma based on the Symptom Management Model (Dodd et al, 2001). The study focused on 90 cases of cholangiocarcinoma patients with pruritic who were treated at Sappasitthiprasong Hospital. Data collection commenced from April to June 2012. Data were collected from the sample's response to three questionnaires: 1) personal and illness data 2) symptom experiences: characteristics, severity and interferences of pruritus 3) symptom management strategies and outcomes. The data were analyzed as frequency, percentage and means.

The results showed that severity of pruritus in most patients with cholangiocarci- noma (50%) was at the highest level. The highest interference of pruritus against patient’s life was choosing clothes to wear (with an average value of 2.46 out of 3) The most common management strategy was scratching an itchy area (100%). The majority of patients managed their pruritus in their own way. But modern medicines and following doctor's treatment plans were the most effective strategies.

The result of this study can be used as data for the treatment for cholangiocarcinoma patients with pruritic skin. Thus nurses should evaluate symptoms, find out how to manage symptoms and make a nursing care plan to reduce pruritus effectively.

 

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการคันตามผิวหนัง กลวิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ ตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้รูปแบบการจัดการอาการของดอดด์และคณะ1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มีอาการคันตามผิวหนัง ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 90 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2555 โดยใช้เครื่องมือทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินคุณลักษณะ ความรุนแรง และผลรบกวนของอาการคันตามผิวหนัง 3) แบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการคันตามผิวหนัง และผลลัพธ์ของการใช้กลวิธีการจัดการอาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50) มีอาการคันระดับมาก และมีผลรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้านการเลือกเสื้อผ้าที่จะสวมใส่มากที่สุด (เฉลี่ย 2.46 จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน) ผู้ป่วยทุกรายใช้กลวิธีจัดการกับอาการคันหลายวิธีร่วมกัน กลวิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การเกา (ร้อยละ 100) และการผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ (ร้อยละ91-95) ผลลัพธ์ของการจัดการอาการคันโดยรวมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.8) ลดอาการได้เล็กน้อยถึงปานกลาง กลวิธีที่ลดอาการคันได้หมด แต่ใช้น้อยที่สุด (ร้อยละ15.6) คือ การรักษาด้วยหัตถการของแพทย์

ผลการศึกษานี้ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มีอาการคันตามผิวหนัง เป็นแนวทางในการประเมินอาการ การจัดการกับอาการคัน และการศึกษาวิจัยเพื่อลดอาการคันตามผิวหนังที่มีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads