การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปัทมา สำราญ
  • เพชรไสว ลิ้มตระกูล

คำสำคัญ:

การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD care system, Chronic Obstructive Pulmonary Disease

บทคัดย่อ

The purposes of this action research were to analyze the existing chronic obstructive pulmonary disease (COPD) care service and improve a COPD healthcare system in Chum Phuang Hospital, Nakhon Ratchasima Province.   Seventy-three participants, including hospital administrators, COPD Clinic health personnel, community medicine personnel, COPD patients, patient caregivers, community representatives and village health volunteers, were involved in the study.  Data collection instruments consisted of a semi-structured interview questionnaire and a focus group discussion guideline.  The study was carried out in four phases during April 2012 and November 2012 including 1) situational analysis of COPD care, 2) planning for the suitable COPD healthcare system, 3) implementation of COPD healthcare system, reflection of outcomes and revision of COPD care, and 4) outcome evaluation.  Descriptive statistics were used to analyze quantitative data.  A content analysis was performed to examine qualitative information.

A situational analysis of existing COPD care revealed that, for self-care support, COPD patients lacked sufficient knowledge about the disease, exercise and lung rehabilitation and 7.7% of the patients continued to smoke.  In terms of community environment, community members smoked cigarettes and burned their garbage in public space.  The COPD Clinic had not clearly designated its service process and there was no practice guideline for COPD care and referral for the health personnel.  Consequently, the researcher and other stakeholders cooperated to improve the COPD healthcare system which included the followings; 1) patient self-care support, accomplished through individual and group health education, smoking cessation counseling, and a patient self-care handbook, 2) promotion of pulmonary rehabilitation by means of elastic band exercise,  3) development of a COPD care manual for the health personnel, and 4) improvement  the health volunteers’ competency by organizing a COPD care workshop and home visits.  In addition, the community was involved in the environmental management.  A campaign against public smoking and garbage burning was implemented.  Outcomes evaluation indicated that the patients had increased perception about the disease and modified their self-care behaviors.  As a result, patients’ basic lung functions improved and they could tolerate daily activities better.  Lastly, community participation in patient care was observed.

 

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหาร กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  กลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชปฏิบัติชุมชน กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วย ตัวแทนผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แนวทางในการสนทนากลุ่ม  ระยะเวลาในการดำเนินการเดือน เมษายน – พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วย 2) วางแผนหาแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วย 3) การปฏิบัติ การสะท้อนผลการปฏิบัติ และปรับปรุงการปฏิบัติ  4) การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย สถานการณ์การดูแล ด้านการสนับสนุนการดูแลตนเอง ด้านความรู้พบว่าผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรค  และการปฏิบัติตัวน้อยและมีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ในด้านการออกกำลังกาย การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดน้อย และพบผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ร้อยละ 7.7 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน พบว่ายังมีการเผาขยะในหมู่บ้านและมีการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ  หน่วยบริการสุขภาพ คลินิกสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีการกำหนดขั้นตอนในการให้บริการสำหรับผู้ป่วยไม่ครอบคลุม  ด้านการให้การสนับสนุนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่พบว่ามีการอบรมความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติน้อย  ผู้วิจัยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยได้วางแผนและพัฒนาด้านการให้บริการกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในหน่วยบริการ ประกอบด้วย การให้ความรู้เพื่อสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย ให้ความรู้เป็นรายกลุ่ม รายบุคคล การให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่และการจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วย การส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การออกกำลังกายโดยการใช้ยางยืด  พัฒนาคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และการพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ร่วมกับการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพร้อมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้แก่ การรณรงค์การงดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและการงดการเผาขยะในชุมชน  การประเมินผลพบว่า ผู้ป่วยมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้นมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ผู้ป่วยมีสมรรถภาพปอดและมีความทนในการทำกิจกรรมมากขึ้น ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

Downloads