การพัฒนาการดูแลภาวะหัวใจหยุดเต้นสำหรับวิสัญญีพยาบาล ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Cardiac Arrest Care Improvement for Nurse Anesthetist at Srinagarind Hospital: Action Research

ผู้แต่ง

  • สุดใจ บรรเทาทึก วิสัญญีพยาบาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พลพันธ์ บุญมาก รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุหัทยา บุญมาก รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดวงเนตร ลิตุ วิสัญญีพยาบาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัลลภ บุญเดช วิสัญญีพยาบาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มลธิรา ศิริสม วิสัญญีพยาบาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขวัญทิพา ประวันเนา วิสัญญีพยาบาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อริยฉัฏร กาฬหว้า วิสัญญีพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

การช่วยชีวิต วิสัญญีพยาบาล ภาวะหัวใจหยุดเต้น, cardiac arrest life support nurse anesthetist

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจหยุดเต้นในห้องผ่าตัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่วิสัญญีพยาบาลต้องมีความสามารถในการร่วมดูแลผู้ป่วย การพัฒนาความรู้ ทักษะ และทักษะแบบ non-technical มีความจำเป็นสำหรับรักษาสมรรถนะของวิสัญญีพยาบาล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหากลยุทธ์ในการพัฒนาสมรรถนะในการช่วยชีวิต โดยทำการศึกษาในกลุ่มวิสัญญีพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษาปัญหาโดยการใช้แบบสอบถามและสัมมนากลุ่ม พบปัญหาทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การทำงานเป็นทีม และแนวทางการทำงาน จึงทำการระดมสมองเพื่อหาแนวทางพัฒนาร่วมกับการสังเกตการณ์ การสะท้อนผล การประเมิน ผลที่ได้คือ ด้านการพัฒนาความรู้โดยการใช้การสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือคู่มือ วิดีทัศน์ และโปสเตอร์ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น ด้านการพัฒนาทักษะและทักษะแบบ non-technical ในด้านการสื่อสาร การประเมินสถานการณ์ การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม โดยใช้การสอนในสถานการณ์จำลองในห้องผ่าตัด การฝึกทำงานร่วมกับทีมสหสาขา และวิดีทัศน์ ด้านการพัฒนาแนวทางการทำงานโดยใช้การระดมสมองเพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมขึ้น

 Cardiac arrest in the operating room is an emergency condition that nurse anesthetist should have competence to participate with resuscitation team. Knowledge, skill, and non-technical skill improvement was required to maintain nurse anesthetist’s competency. This action research aimed to initiate the strategies to improve their life support competency. We studied in nurse anesthetists who worked at Anesthesia Department, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. We explore the problem by questionnaires and group seminar. We found problems in knowledge, skill, team management, and guideline. After brainstorming, we create improvement strategy, including observation, reflection, and evaluation. For the knowledge improvement strategies, we used an electronic learning technique, handbook, video, and poster that were available. For the Skill and non-technical skill improvement strategies, we improved their communication, decision making, situation awareness, and team management by training them in the operating room simulation including multidisciplinary team training, and video. For guideline improvement strategies, we used brainstorming technique and found the appropriate guideline.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09