การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ในเขตพื้นที่ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Development of food and Nutritional Management Model Using Mother’s Food Guideline, Phawong Sub-Dis
คำสำคัญ:
แนวทางอาหารของแม่ การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, Mother’s food guideline, food and nutritional management, participatory action researchบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ประกอบด้วย อาหารสะอาดปลอดภัย โภชนาการดีและทำด้วยความรัก ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ของชุมชนตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1) การเตรียมความพร้อมและการศึกษาสถานการณ์ปัญหาทางโภชนาการ เก็บข้อมูลจากตัวแทนแม่ระดับครัวเรือนใน 4 กลุ่มช่วงวัยคือ เด็กก่อนวัยเรียน วัยเรียน หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ จำนวน 275 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ 2) การดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 วงรอบ ๆ ละ 4 ขั้นตอน คือ การระบุสภาพปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน การดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนด และการติดตามและประเมินผล ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ผู้บริหารและครู ตัวแทนผู้ปกครอง สตรีตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ จำนวน 58 คน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเขตพื้นที่ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1) การจัดการให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของแม่ต่อการส่งเสริมโภชนาการ ด้วยการสร้างกระแสสังคมอาหารของแม่ การพัฒนาศักยภาพด้านอาหารและโภชนาการ และการประเมินภาวะโภชนาการในบุคคลทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง 2) การบริหารจัดการให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ดีและเหมาะสมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการสร้างนโยบายด้านสุขภาพของชุมชน การเพิ่มความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และการสร้างผู้นำอาหารของแม่อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ มีจุดเด่นที่การมีส่วนร่วมของชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จึงเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ยั่งยืน
This participatory action research is to develop food and nutritional management model using mother’s food guideline that included “clean food”, “good nutrition”, and “made with love”. This study was implement in two phase. Phase 1 was preparation and situation analysis of nutritional problems in preschool and primary school children, pregnant women, and elderly people in the Phawong community. The participants were 275 household in the community. Data were collected from nutritional questionnaires, focus group, interview, and observations. A quantitative data were analyzed using frequencies and percentages. A content analysis was used to examine a qualitative information. Phase 2 was implement in two cycles that encompassed four stages. It consists of identify the problems, develop a plan of action, observation and reflection. The research participants were 58 related persons in the community.
The results revealed that the food and nutritional management model using mother’s food guideline, Phawong sub-district consisted of 1) establishing awareness of mother’ role for promoting nutritional status by creating mother’s food trend, human resources development, and nutrition surveillance, 2) continuing and maintenance mother’ role for healthy behaviors by development community health policies, increasing cooperation of agencies, and continuing maternal leadership. In conclusion, this food and nutritional management model is prominently display of community participation which recommends for sustainable problem solving.