ผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อ การเกิดการสำลักและปอดอักเสบในโรงพยาบาล Effects of a Nursing Program for Hospitalized Patients with Acute Stroke on Aspiration and Pneumonia

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ เนียมชา นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปัทมา สุริต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมศักดิ์ เทียมเก่า รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน การสำลัก ปอดอักเสบ, nursing program, acute stroke patients, aspiration, pneumonia

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อการเกิดการสำลักและปอดอักเสบในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา             ณ หน่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆละเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะการประเมินการกลืน ระยะที่ 2 ระยะการบริหารกล้ามเนื้อช่วยกลืนและการฝึกกลืน ระยะที่ 3 ระยะการดูแลขณะรับประทานอาหาร และระยะที่ 4 ระยะการประเมินการเกิดการสำลักและปอดอักเสบ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการทดสอบของฟิชเชอร์  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมมีการเกิดการสำลักร้อยละ 4.3 และการเกิดปอดอักเสบร้อยละ 4.3 ส่วนกลุ่มทดลองไม่มีการเกิดการสำลักและปอดอักเสบเลย แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่โปรแกรมนี้ทำให้มองเห็นแนวโน้มของการป้องกันการเกิดการสำลักและปอดอักเสบได้

               จากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยเสนอว่าควรมีการประเมินการสำลักขณะและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อในระหว่างที่ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และควรมีการประเมินติดตามการเกิดปอดอักเสบหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว

The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of a nursing program for hospitalized patients with acute stroke on aspiration and pneumonia. The samples were 92 patients with acute stroke who were admitted into the stroke unit of Srinagarind Hospital, Khon Kaen and were selected through purposive sampling and the eligibility criteria. Subjects were equally divided into two groups: the experimental group received a nursing program for hospitalized patients with acute stroke and the control group received the hospital routine care. The program comprised of four phases: 1) swallowing screening; 2) preparation before eating (oral cavity and neck exercise and swallowing technique); 3) nursing care for safe swallowing; and 4) assessment for aspiration and pneumonia. The content validities of the program and study instruments were determined by five experts. Data were obtained from March to April 2017 and were analyzed through descriptive statistics and the Fisher’s exact probability test.

The results revealed that after the experiment, the incidences of aspiration and pneumonia were showed only in the control group (4.3%). Even though there was no statistically significant difference between experimental and control groups, the program showed the trend of aspiration and pneumonia reduction in these patients.   

In conclusion, the researchers suggest that aspiration should be assessed while the patients are eating and after they finish their meal. The patients should be continuously assessed for pneumonia after they are discharged from the hospital.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09