ผลของการใช้กระเปาะเย็นกดจุดซานหยินเจียว (SP6) ต่อระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในระยะที่หนึ่งของการคลอด Effect of cold tube acupressure at San yin jiao (SP6) to Pain perception in active phase in the First Stage of Labor

ผู้แต่ง

  • เกศกัญญา ไชยวงศา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • นวลใย พิศชาติ พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

การกดจุด จุดซานหยินเจียว (SP6) คะแนนความเจ็บปวด การนวดด้วยน้ำแข็ง, acupressure San yin jiao (SP6) pain perceptions ice massage

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) โดยทำการวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระเปาะเย็นกดที่จุดซานหยินเจียว (SP6) ต่อระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในระยะที่หนึ่งของการคลอด  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้คลอดครรภ์แรก ที่มีอายุระหว่าง 17-34 ปี ซึ่งมีอาการเจ็บครรภ์คลอด มีปากมดลูกเปิด 4-7 เซนติเมตร ที่แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลอุดรธานี ในระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557  ถึงวันที่ 31 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 จำนวนทั้งหมด 54 คน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 27 คน ด้วยวิธีการจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการกดด้วยกระเปาะที่ไม่มีความเย็นที่จุดเหอกู่ (LI4) กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการกดด้วยกระเปาะเย็นกดที่จุดซานหยินเจียว (SP6) ขณะมดลูกหดรัดตัวในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในระยะที่หนึ่งของการคลอด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ กระเปาะเย็น (cold tube) ซึ่งผู้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อใช้แทนแรงกดด้วยนิ้วมือและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเจ็บปวดวิช่วล     เรตติ้ง สเกลส์ (visual rating scale:VRS) และแบบสอบถามของแมคกิลล์แบบย่อ ฉบับภาษาไทย (Thai version of short form McGill pain questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะประชากรระหว่างกลุ่มของทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยการทดสอบไคว์-สแควร์ (Chi-square) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดก่อนและหลังทดลองภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความความเจ็บปวดระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (independent t-test)  ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดก่อนทดลองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (VRS: = 7.37, SD= 1.90 VS , =7.26 , SD= 1.45, p > 0.05) และภายหลังทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (VRS: =6.85 , SD= 1.61 VS =7.81, SD=1.54, p < 0.05) การกดจุดซานหยินเจียว (SP6) ด้วยกระเปาะเย็นที่ผู้วิจัยประดิษฐ์ขึ้น มีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอดได้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ดูแลสามารถนำไปใช้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดให้กับผู้คลอดได้

 

The purpose of this clinical trial was to verify the effect of acupressure by using a cold tube at San Yin Jiao (SP6) and He-gu point (LI4) on labor pain perception of primigravida in the first stage of labor. The participants consisted of 54 primigravidas who attended at antenatal care clinic and gave childbirth through vaginal delivery at Swangdandin Hospital, Sakonnakhon Province and Udonthani Hospital between 1st March, 2014 to 31st May 2015. The participants were assigned into either control or two experimental groups by a simple random technique resulting in 27 participants in each group. The control group, received acupressure treatment using a tube without a cold on the skin of He- gu point (LI4)        (at the first finger web) in each period of contraction of the uterus. For each acupressure treatment, 30 minutes of time were used. For experimental group, all conditions were similar to those of the control group, the experimental group except pressure from the cold tube on the skin of San Yin Jiao (SP6). The cold tube, created by the author, was modified form acrylic tube by add cold on tube when we used, the cold tube replacing the pressure with the first finger. Outcome measures of the current study were average pain perceptions using the Thai version of short form McGill pain questionnaire and a visual rating scale (VRS). Comparison of the difference in average of pain perceptions before and after within groups were analyzed by using paired t-test and comparison of the difference in average of mean pain score between the two groups were analyzed by using independent t-test.  The results showed that the mean of pain score in control group and experimental group (San Yin Jiao point: SP6)  at before experiment were not difference significantly (VRS: = 7.37, SD= 1.90 VS , =7.26 , SD= 1.45, p > 0.05). Furthermore, the severity of pain perceptions at after experiment between the control group and experimental group, that the mean of pain score in experimental group were less than control group significantly(VRS: =6.85 , SD= 1.61   VS =7.81, SD=1.54, p < 0.05). The cold tube which created by the author, can be used at San yin jiao (SP6) effectively for relief labor pain. Care giver may choose this cold acupressure technique to relief labor pain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09