ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ที่คลอดในโรงพยาบาลมหาสารคาม Pregnancy Outcomes in Pregnant Women with Preeclampsia who Delivered at Mahasarakham Hospital

ผู้แต่ง

  • รำไพ เกตุจิระโชติ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รัตติยา ทองสมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สุภาพร สุภาทวีวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ภาวะชัก ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์, preeclampsia eclampsia pregnancy outcomes pregnant woman

บทคัดย่อ

การวิจัยย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557  เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาลโดยใช้แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 26.45 ปี  เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ร้อยละ 21.8 สตรีตั้งครรภ์อายุมาก ร้อยละ 15.8  เป็นสตรีครรภ์แรก ร้อยละ 57.5 เป็นความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง ร้อยละ 56.8 มีภาวะชัก ร้อยละ 4.3  การคลอดก่อนกำหนดพบ ร้อยละ 29.1 มารดาหลังคลอดย้ายไปหอผู้ป่วยหนัก/กึ่งหนัก ร้อยละ 4.3 ทารกแรกเกิดคะแนนแอปการ์นาทีที่ 1 และ 5  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 คะแนน ร้อยละ 12 และ 5.6 ตามลำดับ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 37.6 ทารกถูกส่งไปหอผู้ป่วยทารกป่วย/วิกฤต ร้อยละ 74.5 ผลการทดสอบโดยใช้ไคสแควร์ พบว่า อายุของมารดาและการฝากครรภ์ครบเกณฑ์คุณภาพมีความสัมพันธ์กับชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X2 = 12.43, p = .014) และ .001 (X2 = 23.987, p = .000) ตามลำดับ ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับคะแนนแอปการ์นาทีที่ 1 คะแนนแอปการ์นาทีที่ 5 และน้ำหนักทารกแรกเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (X2 = 27.164, p = .000), (X2 = 28.337, p = .000) และ (X2 = 22.198, p = .000) ตามลำดับ  จากผลการวิจัย เห็นได้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของมารดาและทารก ยังพบภาวะชัก และมีการชักซ้ำ   ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทบทวนการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในการดูแล

This retrospective research aimed to explore pregnancy outcomes among pregnant women with preeclampsia. Samples were women with preeclampsia who delivered at labor room of Mahasarakham Hospital from the year 2012 to 2014. Data from hospital database were collected by the record form. Descriptive statistics and Chi-square test were applied for data analysis. The results found that the average age of samples was 26.45 years. Adolescent and elderly pregnancies were found 21.8 and 15.8 percent, respectively. Majority of samples were primigravida (57.5%). Most samples were severe preeclampsia (56.8%). Eclampsia was found 4.3 percent which found re-convulsion. Preterm births were found 29.1 percent. APGAR Scores at minute 1 and 5 which less than and equal 7 were 12 and 5.6 percent respectively. Low birth weight was found 37.6 percent. Moreover, 75.4 percent of neonate were transferred to sick newborn/ NICU wards while 4.3 percent of postpartum mothers were transferred to intensive care unit. The result of Chi-square test showed that maternal age and quality of antenatal visit were significantly associated with type of preeclampsia at .05 (X2 = 12.43, p = .013) and .001 (X2 = 23.987, p = .000) respectively. The type of preeclampsia was statistically associated with APGAR Scores at the minute 1, 5 and birth weight at the significant level .001 (X2 = 27.164, p = .000), (X2 = 28.337, p = .000), and (X2 = 22.198, p = .000), respectively.  The results reflected that preeclampsia is a crucial complication with serious adverse outcomes of women and newborns. eclampsia and re-convulsion were found. Then, it is necessary to revise the guidelines for the improvement of strategy to prevent preeclampsia and its complications effectively.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09