ผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงาน ต่อความทนในการทำกิจกรรมและการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Effects of Walking with Prop and Energy Conservation Techniques Program on Activity En
คำสำคัญ:
ความทนในการทำกิจกรรม, การรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน, การเดินด้วยไม้ค้ำเดิน, เทคนิค สงวนพลังงาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, activity endurance self-efficacy walking with prop energy conservation techniques chronic obstructive pulmonary disease patientsบทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการหายใจลำบากเมื่อต้องออกแรง ทำให้ความทนในการทำกิจกรรมลดลง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และเทคนิคการสงวนพลังงานเป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อช่วยลดอาการหายใจลำบาก และเพิ่มความทนในการทำกิจกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานต่อความทนในการทำกิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้าพักรักษาตัวที่แผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานตลอดระยะ 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงาน แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และการทดสอบความคงทนในการทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความทนในการทำกิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01)จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความทนในการทำกิจกรรม และเพิ่มการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน อันจะส่งผลให้ลดอาการหายใจลำบาก และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขตามสภาวะโรคที่เป็นอยู่ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Patient with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) always faces with dyspnea when performing exercise leading to decreasing in activity endurance. Lungs rehabilitation and energy conservation technique an are important strategies in order to reduce dyspnea and increase activity endurance. This two-group pretest and posttest quasi- experimental research aimed to study the effects of a Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program on activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL. Fifty COPD patients were randomly selected and assigned into experimental and control groups equally. The control group received normal nursing care whereas the experimental group received 7-week.Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program individually. Instruments used in this study consisted of The Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program which was validated by 5 experts, Perceived Self-Efficacy Related to ADL Questionnaire with its reliability of .83, and Six-Minute Walk Test. Descriptive statistics and t -test were used for data analysis.
Findings revealed that after receiving the program, mean score of activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL of experimental group was statistically and significantly higher than those of before receiving the program (p <.01) as well as higher than those of the control group (p <.01).
Research result suggested that this Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program should be implemented with COPD patients so to enhance their activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL leading to reduce dyspnea and spend their daily living according to their health status as well as reach to better quality of life.