ผลของโปรแกรม LATH ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว Effect of LATH Program on Health Promoting Behavior among Family Caregivers of Patients with Heart Failure

ผู้แต่ง

  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

โปรแกรม LATH พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, LATH program health promotion behavior family caregiver patient with heart failure

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม Learning-Awareness-Telephone-Home visiting (LATH) ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมในจำนวนเท่ากัน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลและการให้คำแนะนำที่เป็นมาตรฐานตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลและการให้คำแนะนำตามมาตรฐานร่วมกับโปรแกรม LATH การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติค่าเฉลี่ยและร้อยละ โดยใช้สถิติไคว์สแควร์ (Chi-square) สำหรับข้อมูลระดับนามบัญญัติ และสถิติ independent t-test สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า โปรแกรม LATH มีบทบาทในการสนับสนุนให้ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสูงขึ้น

The aim of this quasi-experimental study was to examine Learning-Awareness-Telephone-Home visiting (LATH) program affected health promotion behavior among caregivers of patients with heart failure. A hundred samples were randomized to either the experimental or the control group equally. The control group received goal standard care whereas the experimental group was given standard care along with LATH program developed by the researchers. Data were collected using the Demographic and Medical Form and the Health Promotion Behavior Questionnaire. Descriptive statistics, Chi-square, and independent t-test were used for analyze personal data, nominal data set, and compared between groups, respectively.

The study revealed that, after the program, in the experimental group, mean scores of health promotion behavior were significantly higher than those of the control group (p < .001). The findings suggest that LATH program can play a significant role in encouraging health promotion behavior of family caregivers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09