การพัฒนาระบบจิตอาสาของเยาวชนโดยชุมชน Volunteering spirit in youth: a community developed model

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ พูลทวี นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขนิษฐา นันทบุตร รองศาตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

จิตอาสา, การพัฒนาชุมชน, เยาวชน, volunteering spirit community development youth

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบจิตอาสาของเยาวชนโดยชุมชนโดยใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชน ภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา แบบวิพากษ์ (Critical Ethnography) แบ่งระยะของการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจบริบทของชุมชนตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาข้อมูลสถานะ ศักยภาพ และระบบจิตอาสาของชุมชน และ 3) การพัฒนาระบบจิตอาสาของเยาวชนในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 42 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการบันทึกภาคสนาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1)  ลักษณะกิจกรรมอาสาของเยาวชน แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมอาสาด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และด้านสังคม 2) เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่นำไปสู่การทำกิจกรรมอาสา คือ จากปัญหาและความต้องการของพื้นที่ นโยบายของพื้นที่และนโยบายของชาติ การทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชุมชนร่วมกับผู้ใหญ่ และการร่วมกิจกรรมของชุมชน 3) กระบวนการในการพัฒนาระบบจิตอาสาประกอบด้วย 6 กระบวนการ ประกอบด้วย การให้ความรู้และพัฒนาทักษะ การเปิดโอกาสให้ร่วมทำกิจกรรมอาสาร่วมกับผู้นำ การยกย่องชื่นชมเมื่อทำดี การมีพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในการทำกิจกรรมอาสา การฝึกการช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชน และการสนับสนุน ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมของชุมชน 4) กลไกสำคัญในการพัฒนาระบบจิตอาสา คือ การทำงานร่วมกันระหว่าง 3 องค์กร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และ กลุ่มจิตอาสา) การมีกลุ่มจิตอาสาทำงานในชุมชนเป็นต้นแบบ มีกลุ่ม องค์กรทางสังคมสนับสนุนและส่งเสริม และ 5) 6 บุคคลสำคัญที่ให้เกิดกระบวนการพัฒนาระบบจิตอาสา

ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถให้ข้อเสนอแนะแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ในระดับกระทรวง และระบบการศึกษาทางการพยาบาล

The purpose of this qualitative study aimed to study model to build volunteer spirit in youth by using community capacity in a socio-cultural context. This study employed critical ethnography method divided into 3 phases: 1) exploring the community to understand its socio-cultural context, 2) studying the community status, community potential and community voluntary system situations, and 3) developing system of youth volunteerism. Participants were divided into two groups including forty-two key informants’ and nineteen general informants. The data were collected using participant observation,    in-depth interview, focus group discussions, and field note and analyzed by content analysis.

The results indicated that 1) Characteristics of volunteer spirit activities in the community consisted of five scenarios: sociological, economic, environmental, health-related and political characteristics 2) The Events causing contributing the development of volunteerism including problems and needs in the community, national and local policies, cultural practice, and community activities. 3) The development process of youth volunteering spirit had six processes including; providing knowledge and skills, providing the opportunity to work with leader, Praising when doing good things, Having parents and adult as role model, assisting other and Encouraging joining the community activities. 4) Mechanisms that build community volunteer spirit development; Cooperation of the three sectors (local administrative organization, school, and volunteer group), having a group of volunteers as a role model, having social enterprises as a supporting and reinforcing the occurrence of systemic 5) six key actors who work for development system of youth volunteering spirit.

These findings could be applied to social groups, local administrative organizations, primary care units, health promoting hospitals, and educational nursing institutions for building volunteerism community.

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-09