การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย: การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Exercise Behavior Modification and Application of Transtheoretical Model
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย, การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบทคัดย่อ
การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความแข็งแรง และสมรรถนะในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ทั้งนี้การที่จะทำให้บุคคลยอมรับว่าการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนั้น ต้องสร้างการรับรู้คุณค่าของการออกกำลังกาย สร้างทัศนคติที่ดี และสร้างความมั่นใจว่าบุคคลสามารถทำได้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่ ต้องใช้เวลา เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างเป็นนิสัยหรือความ เคยชินของบุคคลนั้น โดยเฉพาะการสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกาย ดังนั้น การจัดกิจกรรมการสร้างเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย จำเป็นต้องมีหลักแนวคิด ทฤษฎีมาช่วยวางแผน ดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งทฤษฎีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่สำคัญ คือ ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บทความนี้ได้อธิบายทฤษฎี และแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในหลอดเลือดสูง เป็นต้น1 ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูงขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลก(World Health Organization: WHO) ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอัตราป่วยและตายมากที่สุด 4 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง2 นอกจากนี้สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 มีความชุกของผู้เป็นโรคเบาหวาน 415ล้านคน และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2583 จะพบความชุกเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน3 นอกจากนี้การเจ็บป่วยด้วยโรคกลุ่มหัวใจและหลอดเลือดในปี พ.ศ. 2557 คิดเป็นร้อยละ 10.91 โดยพบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 24.54 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของประเทศไทย พบว่ามีประชากรไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากกว่า 300,000 คิดเป็นร้อยละ 735 เห็นได้ว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังคงมีขนาดและความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ จะสามารถป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นได้6
จากข้อมูลการเจ็บป่วยและงานวิจัยด้านสุขภาพต่างๆ สนับสนุนว่าพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันที่มากเกินความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs)7