ความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลายในผู้ป่วยเบาหวาน Diabetes Peripheral Neuropathy (DPN) In Diabetic Patients
คำสำคัญ:
ความปวดเบาหวาน, ระบบประสาทถูกทำลาย, แบบประเมินความปวดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอธิบายกลไกการเกิดพยาธิสภาพของความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย(Neuropathy)การประเมินและการจัดการความปวดในผู้ป่วยเบาหวานความปวดในผู้ป่วยเบาหวานเกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทถูกทำลาย(Neuropathic pain)ซึ่งมีผลมาจากน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้สามารถอธิบายได้จากกลไกของกระบวนการยับยั้ง(Specificinhibitors)ประกอบด้วยการเพิ่มของวิถีโพลิออล (Increased polyol pathways flux) และการสร้างผลผลิตขั้นสุดท้ายของการสังเคราะห์กลูโคส Advanced glycation end-product: AGE) การกระตุ้นโปรตีนไคเนสซี (Protein kinase C) และการเพิ่มของเฮกโซซามีน (Hexosaminepathwayflux)ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสำคัญของการทำลายเนื้อเยื่อเส้นประสาทซึ่งทำให้เกิดความปวดการจัดการความปวดจำเป็นต้องได้รับการประเมินด้วยแบบประเมินความปวดที่เหมาะสมและการจัดการความปวดด้วยรูปแบบ Recognize Assess Treat (RAT Model) ซึ่งอาจช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพได้ประเมินความปวดได้อย่างครอบคลุมและสามารถจัดการความปวดได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ตี
ความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย (Neuropathic pain) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกลไกทางสรีรวิทยาและคลินิกเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในผู้ป่วยเบาหวานความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลายในผู้ป่วยเบาหวานพบร้อยละ10-20 และพบมากถึงร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของระบบประสาท (Diabetes neuropathy)1, 2ซึ่งร้อยละ 30 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและร้อยละ 20 ที่มีปัญหานี้อยู่ในชุมชนโดยไม่ได้รับการรักษา3ภาวะความผิดปกติของระบบประสาทในเบาหวานในแต่ละปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 24และเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในประเทศไทยความปวดนับเป็นปัญหาของผู้ป่วยที่พบบ่อยในการรักษาและการพยาบาลซึ่งความปวดโดยทั่วๆไปจำแนกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ1) ความปวดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย (Nociceptive pain) 2) ความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย(Neuropathic pain)และ3) ความปวดที่เกิดร่วมกันระหว่างการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและเส้นประสาท(Mixed pain) สาเหตุและกลุ่มอาการทางระบบประสาทมีสิ่งกระตุ้นหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกคล้ายกันในรูปแบบต่างๆ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีการรับรู้ความปวดอย่างชัดเจนร่วมกับรอยโรคที่นำไปสู่การเกิดพยาธิสภาพที่ทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดลง การรับรู้เหล่านี้มีลักษณะจำเพาะไม่เคยเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมาก่อน สัญญาณเตือนของการรับรู้ที่มากขึ้นหรือลดลงเหล่านี้มักพบในความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น อาการสั่นของพาร์กินสันพบได้เมื่อมีการเสื่อมของซับสแตนเทียไนกรา (Substantianigra)หรือการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่พบหลังจากระบบประสาทไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพ