รูปแบบระบบสุขภาพระดับอำเภอเพื่อมุ่งสู่อำเภอสร้างเสริมสุขภาพด้านสุขภาพจิต อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ Lessons LearnedDistrict Health System Model for Health Promotion District in Mental Health Lomsak District Phetchaboon Province
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพระดับอำเภออำเภอสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพจิต District Health System, Health promotion District, Mental Healthบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนและสังเคราะห์รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอหล่มสักการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกระบวนการขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอเพื่อมุ่งสู่อำเภอสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบสมดุล (Balance Score Card: BSC)ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง2 ท่าน กลุ่มทีมสุขภาพภาครัฐ จำนวน 25 ท่าน และกลุ่มทีมสุขภาพจากภาคประชาชนจำนวน 16 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ Thematic analysis
ผลการศึกษาพบว่าระบบสุขภาพระดับอำเภอสำหรับอำเภอหล่มสักในมุมมองด้านพื้นฐานมุ่งเน้นงานสุขภาพจิตเนื่องจากมีผู้ป่วยจิตเวชมากถึง 800 คน มุมมองด้านกระบวนการขับเคลื่อน ได้ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วย เฝ้าระวัง รักษาเเละติดตามคนไข้ในชุมชน โดยรูปเเบบของอำเภอหล่มสักมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนสามารถดูเเลผู้ป่วยจิตเวชได้เเละพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังโดยอาสาสมัครสาธารณสุขเเละเเกนนำในครอบครัวโดยอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาได้มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา มีการจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 จนเกิดเป็นตำบลต้นแบบและขยายผลครอบคลุมทุกตำบลโดยคนไข้จิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้านทุกคน รูปแบบการดำเนินงานสามารถพัฒนาทั้งบุคลากรเเละพัฒนาระบบ และมุมมองด้านประชาชนและภาคีเครือข่ายมีการเชื่อมประสานตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านและครัวเรือน โดยมีปัจจัยที่นำไปสู่ผลสำเร็จคือการมีนโยบายที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้นำทุกระดับเห็นความสำคัญ มีอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีศักยภาพผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตามอย่างจริงจัง
Abstract
Thisstudywereintended to synthesize lessons learned form the District Health Systemmodel.This research was qualitative method.The qualitative approach was collecting data withindept interview the paticipants in the process-driven DistrictHealthSystembyusing forms of Balance Score Card: BSC assessment.Key informantswere District Health Change Agent 2 peopleDistrict Health Team from government sector 22 people and District Health Team from private sector 16 people. Thematic analysis was used for data analysis.
This study indicated that District HealthSystemin fundamental view was focus on mental health because there are psychiatric patientsalmost up to 800 people.A process driven consisted of screening patients,surveillancetreatment and follow up patientsincommunity. The pattern of the District Health Systemwas focus onability of health officials ,health volunteers and household leader. They were able to care and give an advice to the patients. In aspects of learning and developmentthesystem was focused on shareandlearnto care for psychiatric patients. There are sub-district prototype in psychiatric patients care and extended to cover all sub-district, more over all of psychiatric patients was followed up by team. In population and network aspects, this study indicated that there were linked from the district to sub-district community and household. The factors that lead to successful results were clear policy,community participation, leaders at all levels recognize of the importance,there are potential health volunteers and executives at all levelssupported seriously.