การทำงานของเครือข่ายชุมชนในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องทางด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผือ ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น Community Network Operation to Increase Express Health Care Services to Stroke Pa

ผู้แต่ง

  • ภัทรวรรณ นิสยันต์
  • สมจิต แดนสีแก้ว

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Participatory Rural Appraisal, Stroke patient

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เป็นการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม  เพื่อศึกษาประสบการณ์และการรับรู้ของชุมชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใน 10 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผือ ตำบลพระลับ อำเมืองเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้ป่วย  ผู้ดูแล 10 คน กลุ่มเสี่ยง 30 คน  อสม. 30 คน ผู้นำชุมชน 10 คน สมาชิกสภาเทศบาล 4 คน             สหสาขาวิชาชีพ 6 คน รวม 90 คน ระหว่างเดือนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 – มกราคม พ.ศ. 2560  ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน ระยะที่ 2 เปิดเวทีร่วมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน และระยะที่ 3 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ประสบการณ์และการรับรู้          ของชุมชน เก็บข้อมูลการวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน นำประสบการณ์การนำส่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเสวนากลุ่ม กลุ่มละ 50 คน 2 ครั้ง ในระดับหมู่บ้าน และร่วมประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินอาการและการรับรู้อาการ พบว่าญาตินำส่งเนื่องจากการรับรู้        อาการถูกต้อง ผู้ป่วยเข้าถึงระบบทันเวลา จำนวน 2 คน (ร้อยละ 9)  และไม่ทันเวลา 21 คน (ร้อยละ 91)  2) การประสานขอความช่วยเหลือโดยเครือข่ายชุมชน โดยรพ.สต. ประสานโทรแจ้ง 1669 จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 9) ญาติประสานโทรแจ้ง 1669 จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 17)  และไม่มีการประสาน           ขอความช่วยเหลือ จำนวน 17 ราย  (ร้อยละ 74)  3) การตอบสนองต่ออาการและการจัดการกับอาการ พบว่าผู้ป่วยพยายามรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีของตนเองตามการรับรู้ถึงความรุนแรง ผู้ป่วยบางรายพยายามอดทนต่ออาการที่เกิดขึ้น และรอดูอาการรับรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง 4) การตัดสินใจมารับการรักษาในโรงพยาบาล การตัดสินใจ พบว่า ญาติตัดสินใจนำส่ง 21 คน (ร้อยละ 91)  ตัวผู้ป่วยตัดสินใจด้วยตนเอง 2 คน          (ร้อยละ9) การเดินทาง  ผู้ป่วยทุกคนที่เดินทางเอง 17 ราย (ร้อยละ 74)  โดยไม่มีการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล มีการส่งด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 6 คน  (ร้อยละ 26) สรุปผลการวิจัย  เวทีการเรียนรู้ร่วมกันและศรัทธาในศักยภาพของเครือข่ายชุมชน ใช้การเรียนรู้ความจริงของชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการรับรู้การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เวทีการเรียนรู้ร่วมกันและศรัทธาในศักยภาพของเครือข่ายชุมชน ใช้      การเรียนรู้ความจริงของชุมชนแลกเปลี่ยน การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีอยู่ร่วม และวิธีทำงานด้วยหัวใจของชุมชน เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพ เห็นคุณค่าในสังคม มีความตระหนัก อยากร่วมพัฒนา มีพลังของเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และร่วมกันนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาชุมชนเป็นสังคมอยู่ดีมีสุข

Abstract

This qualitative research An engaging community analysis. To study the community experiences and perceptions of accessing health services of stroke patients in 10 villages, which are the responsibility of the Ban Phue District Health Promotion Hospital, Phra         Sub-District, Muang  District, Khon Kaen Province. Khon Kaen The study cohorts were 10 caregivers, 30 risk takers, 30 community leaders, 10 community leaders, 4 councilors, 6 multidisciplinary councilors, and 6 people, totaling 90 persons, from October to December 2016. 3 phases: Phase 1, community information, phase 2, community forum, phase 3, and community participation in community experiences and awareness analysis. Keep research information Data from in-depth interviews, stroke patients, and related persons were used in the discussion group. And brainstorm sessions and reflect on and analyze qualitative data using content analysis. The findings were as follows: 1) symptom and symptom evaluation It was found that relatives delivered timely due to perceived symptoms. 2 patients (9%) and 21 patients (91%)        did not have time to access the system. 2) Co-ordination of assistance by community network. 9) Relatives, 1669 callers, 4 (17%), and 17 cases (74%). 3) Symptom and symptom management. It was found that patients attempted to treat or alleviate their symptoms by their own perception of violence. Some patients try to tolerate the symptoms. 4) Decision to be admitted to the hospital. Decisions were made about 21 relatives (91%). 2) Traveling to all 17 self-guided patients (74%) and no pre-hospital care There were 6 emergency medical evacuation (26%). A shared learning platform and a belief in the potential of community networks. Use the truth of the community. To share experiences and perceptions of access to services of stroke patients, mutual learning platforms, and faith in the potential of community networks. Use learning the truth of the community, exchange ideas, join in the learning process, change how you think, how to live together, and how to work with the heart of the community. Confidence in the potential. Value in society Be aware I want to develop Have the power of a strong community network. It is suggested that. Should promote continuous learning. And together lead the way into action. To develop a community is a happy society.

Downloads