ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วน Factor Related to the Recovery After Urgent Abdominal Surgery in Older Persons

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี สมมงคล
  • มยุรี ลี่ทองอิน
  • วิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์
  • วสันต์ เจริญสินทรัพย์

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด, ผู้สูงอายุ, การผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วน post-operative recovery, older persons, urgent abdominal surgery.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ ภาวะโภชนาการ โรคร่วมความสามารถเชิงปฏิบัติ การได้รับข้อมูลก่อนผ่าตัด การสูญเสียการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดหลังผ่าตัด การทำหน้าที่ของลำไส้ การมีส่วนร่วมของญาติกับการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุหลังการผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วน จำนวน 94 ราย ณ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม – กันยายน 2559

เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินภาวะโภชนาการ 3) แบบประเมินโรคร่วม       4) แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ (บาร์เทลเอดีแอลแบบประยุกต์) 5) แบบประเมินการสูญเสียการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดหลังผ่าตัด (แบบทดสอบ Stroop test) 6) แบบประเมินการทำหน้าที่ของลำไส้ 7) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของญาติ และ8) แบบประเมินคุณภาพการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด ทั้งนี้แบบประเมินทั้งหมดได้รับการตรวจสอบค่าความตรงเนื้อหา   อยู่ระหว่าง 0.91-1.0 และตรวจสอบค่าความเที่ยง 1) แบบทดสอบ Stroop test 2) แบบประเมินการได้รับข้อมูลก่อนผ่าตัด     3) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของญาติ และ4) แบบประเมินคุณภาพการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด มีค่าความเที่ยง .79, .87, .79 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation, Spearman rank correlation และ Point Biserial correlation

ผลการศึกษาพบว่า การทำหน้าที่ของลำไส้ (r=.307) การมีส่วนร่วมของญาติ (r=.254) ภาวะโภชนาการ (r=-.207)โรคร่วม (r=-.319) การสูญเสียการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดหลังผ่าตัด (r=-.21) มีความสัมพันธ์กับการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ขณะที่ความสามารถเชิงปฏิบัติและการได้รับข้อมูลก่อนผ่าตัดไม่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วน 

Abstract

This study aimed to explore the relationships between postoperative recovery after urgent abdominal surgery and selected factors including nutrition, comorbidity, functional ability, preparatory information, postoperative cognitive dysfunction, bowel function, and caregivers' participation in caring for older adults. The subjects consisted of 94 older patients who had undergone urgent abdominal surgery, in the surgical department of Khon Kaen hospital, between March and September 2016.

The measurements of this study were a demographic data recording, the Thai version of Nutrition Risk Screening 2002, Charlson’s Comorbid Index, the Barthel ADL index, Stroop test, the preparatory information questionnaire, bowel movement, the caregivers' participation in caring scale, and the postoperative quality recovery scale.  Content validity of these measurements ranged from 0.91 to 1.0. Reliability of stroop test,  the preparatory information questionnaire, the caregivers' participation in caring scale, and  the postoperative quality recovery scale were .79, .87, .79, and .80, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s correlation, Spearman rank correlation, and point biserial correlation were used for data analysis.

We found that bowel function (r = .307), caregivers' participation in caring (r = .254), nutrition (r = -.207),     co-morbidity (r = -.319), and postoperative cognitive dysfunction (r = -.213) were significantly related to the postoperative recovery after urgent abdominal surgery among older adults (p-value < 0.05). However, functional ability and preparatory information were insignificantly related to the postoperative recovery (p-value > 0.05)

Downloads