ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทThe Effects of A self-help Group Program on The Mental Health Self-Care of Schizophrenic Patients’ Primary Caregivers

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ตักโพธิ์
  • ชมชื่น สมประเสริฐ
  • เอกอุมา อิ้มคำ

คำสำคัญ:

กลุ่มช่วยเหลือตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท self-help group, mental health self-care behavior, schizophrenic patients’ primary caregivers

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         โรคจิตเภทเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่เรื้อรังและรุนแรง ทำให้ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทต้องรับผิดชอบดูแลผู้ป่วย ซึ่งการดูแลผู้ป่วยเป็นระยะเวลานานส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลหลักโดยตรงทางด้านร่างกาย  ด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ดูแลหลักจึงควรได้รับการประคับประคองด้านจิตใจ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้ดูแลหลัก

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับการรับยาหรือรับยาแทน แผนกผู้ป่วยนอก ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน และได้รับการจับคู่ ด้านเพศ และความเพียงพอของรายได้ สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์  กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง 3) แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ซึ่งโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบที ชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t–test) และ ชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t–test)

                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองตนเอง (M=232.03, SD=2.10) สูงกว่าก่อนทดลอง (M=161.40, SD=11.96 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t=32.30, p<.001) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (=70.63, SD= 11.97) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (= 1.46, SD=5.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 29.03, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองสามารถเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเวช และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ เป็นต้น และควรมีการติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวต่อไป

Abstract

         Schizophrenia was a chronic and severe mental illness that caused schizophrenic patients’ primary caregivers to take care of the patients. A long time for take care of the patients have an effect of physical, mental and emotional. Primary care givers should be mental support for prevent mental health and psychiatric problems in primary caregivers.

         The purpose of this quasi experimental research, which was divided two pre-posttest groups, was to examine the effects of a self-help group program on the mental health self-care of schizophrenic patients’ primary caregivers. A research sample of 60 primary caregivers that attended to schizophrenic patients in the out-patient unit at, Nakhon Phanom Rajanagarindra Psychiatric Hospital that, met the inclusion criteria were matched according to age and adequacy of income and these were randomly assigned to the experimental and control group, with 30 subjects in each group. The experimental group received a self-help group program once a week for a total of 8 weeks. The control group received regular caring activities. The research instruments were the following: 1) a personal data questionnaire; 2) the self-help group program; and 3) a mental health self-care scale. The self-help group program was validated for content validity by 3 professional experts and the mental health self-care scale, with a Cronbach alpha coefficient reliability of .94. Data were analyzed by descriptive statistics, dependent   t-test, and independent t-test.

         The findings were as follows: 1) the mean score of the mental health self-care of the schizophrenic patients’ primary caregivers after participating in the self-help group program (M=232.03, SD=2.10) was statistically significant higher than before participating in the program (M=161.40, SD=11.96) (t=32.30, p<.001). 2) The mean difference between pre-post mental health self-care scores for the schizophrenic patients’ primary caregivers that participated in the self-help group program (=70.63, SD= 11.97) was significantly greater than that for the primary caregivers that received regular caring activities (= 1.46, SD=5.17) (t= 29.03, p<.001). The result of this study showed that self-help group program can enhance mental health self-care behavior of schizophrenic patients’ primary caregivers. The findings suggest that implement in psychiatric caregivers and caregivers of patients with chronic illness such as cancer aids and should be assessed for its continuous effectiveness and sustainability.

Downloads