ความทุกข์ทรมานของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว Suffering among parents having children with leukemia
คำสำคัญ:
ความทุกข์ทรมาน, บิดามารดา, บุตรโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว suffering, parents, children with leukemiaบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานในเด็กที่เป็นโรคเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อความทุกข์ของบิดามารดาด้วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความทุกข์ทรมานของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำนวน 23 คน ที่ดูแลบุตรป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตภาคภาคตะวันออก เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาเสนอ 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ลักษณะความทุกข์ทรมานเมื่อเริ่มรับรู้วินิจฉัยว่าลูกเป็นโรคมะเร็งและความทุกข์ทรมานในระยะดำเนินการรักษา 2) สาเหตุความทุกข์ทรมาน 3) วิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมาน และ4) ผลลัพธ์ของการบรรเทาความทุกข์ทรมาน ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อลดความทุกข์ทรมานของบิดามารดาและการปรับสมดุลของครอบครัวที่มีบุตรเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเน้นการทำความเข้าใจลักษณะความทุกข์ การลดสาเหตุของความทุกข์และการส่งเสริมวิธีการบรรเทาทุกข์ทรมาน
Abstract
Leukemia not only causes suffering for the children but causes suffering for their parents. This qualitative research aimed to explore suffering among parents having children with leukemia. The participants consisted of 23 parents who provided care for their children with leukemia at pediatric department, regional public hospital in Eastern Region, Thailand. In-depth interview and focus group discussion were used to collect data. Descriptive statistics and content analysis were performed for data analysis.
The findings revealed4 themes of parents’ suffering including 1) suffering onceperceived of children diagnosed with cancerand suffering during treatments2) causes of parent’s suffering 3) the means to soften sufferingand4) outcomes of soften suffering. The findings enhance a basic knowledge concerning parent’s suffering. Therefore, nurses and other health care professionals involving with the care for children with leukemia and their parents could use the research findings to develop the nursing intervention for soften suffering among the parents and improve family’s equilibrium to normal state. The interventions should focus on understanding of suffering aspects, causes of suffering and strategies for soften suffering.