ผู้สูงอายุที่มีความพิการ: การเข้า (ไม่) ถึงสวัสดิการสังคม Elderly people with disabilities: Accessible (Inaccessible) to social welfare

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์

คำสำคัญ:

การเข้าถึง สวัสดิการสังคม คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุที่มีความพิการ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) คาดว่าไม่เกินในอีก 4 ปีข้างหน้า1เนื่องจากความเอาใจใส่ด้านการดูแลสุขภาพและวิทยาการทางการแพทย์ทำให้คนอายุยืนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความจริงที่ว่าคนยิ่งมีอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและความพิการหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เพิ่มมากขึ้น จากรายงานข้อมูลสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมด้วยจำนวน 812,825 คน คิดเป็นร้อยละ 49.5 ของคนพิการทั่วประเทศ โดยพบความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย และทางการมองเห็นตามลำดับ สาเหตุของความพิการส่วนใหญ่ร้อยละ 30.8 เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบข้อสันหลังอักเสบโรคติดเชื้อเบาหวาน และลมชัก ตามลำดับ2 ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมด้วยนั้น ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพามากที่สุด นอกจากนั้น ยังพบว่าในปี พ.ศ.2557 ร้อยละ 34 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจนมาก โดยแหล่งรายได้หลักที่เคยได้จากบุตรลดลงจากร้อยละ 52 ในปีพ.ศ. 2550 เหลือเพียงร้อยละ 34 ในปีพ.ศ. 25571 ทำให้ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาการดูแลด้านสุขภาพและสวัสดิการต่างๆจากรัฐบาลมากขึ้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติถึงเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ ในหมวดของสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยและหน้าที่ชนชาวไทยเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ และได้ตราพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 25463 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผนงานและกิจกรรมสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 114 ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นผู้สูงอายุด้วยเช่นกันประกอบด้วย การสร้างบทบาทผู้สูงอายุในการถ่ายทอดประสบการณ์และภูมิปัญญาแก่คนรุ่นใหม่การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสังคมต่างๆอย่างทั่วถึงการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพการสร้างเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนการดูแลสิทธิมนุษยชนการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งการส่งเสริมการออมและพัฒนาระบบการออมเพื่อยามชราภาพและการสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมด้วยนั้น ยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 25505 มาให้การดูแลโดยกำหนดสิทธิและสวัสดิการ เพื่ออำนวยความสะดวกตามสิทธิประโยชน์พึงมีพึงได้ของคนพิการ ทั้งนี้ การจัดสวัสดิการต่างๆอยู่บนพื้นฐานการสำรวจและงานวิจัยเพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดตามบริบทของประเทศ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความพิการอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จากการทบทวนวรรณกรรม6,7 พบว่าอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านต่างๆของรัฐได้ จากข้อจำกัดเรื่องความพิการหรือการรับรู้สิทธิของตน การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการต่างๆของรัฐจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อเตรียมประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์อย่างสง่างาม

Downloads