ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • คมกริช ศรีชาดา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพจน์ คำสะอาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สูบบุหรี่, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Analytical retrospective cohort study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดหนองคาย โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพจังหวัดหนองคาย (Health Data Center: HDC) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยติดตามสถานะการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยทุกรายจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 3,270 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยสถิติโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model: GLM) นำเสนอค่า adjusted Relative Risk (RRadj) พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% (95% CI) ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดหนองคาย 5.1 ต่อ 100 คน/ปี (95% CI: 4.4 ถึง 5.9) และยังพบว่าผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (ปัจจุบันยังสูบ) มีอัตราอุบัติการณ์เกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 8.8 ต่อ 100 คน/ปี (95% CI: 6.9 ถึง 11.0) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า ผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 3.99 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (RRadj= 3.99 ; 95% CI: 2.67 – 5.96) , ผู้ที่สูบบุหรี่ (ปัจจุบันยังสูบอยู่) มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังเป็น 4.10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (RRadj= 428 ; 95% CI: 2.73 – 6.16) โดยการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับการเกิดโรคไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่พบอุบัติการณ์ต่ำในการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง ในการรับรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองรวมทั้งการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 10th edition. Journal of Experimental Biology 2021; 64: 15-19.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 19 โรค จากการสูบบุหรี่ [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=228837.

ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร, รุ้งลาวัลย์ กาวิละ, อรุณี ไชยเมือง. การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอแม่ลาว จังหวัด เชียงราย. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2563; 7(1): 57–74.

กรุงเทพธุรกิจ. สมาคมโรคไตฯจัดกิจกรรมวันไตโลก 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/276116.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). พิมพิ์ครั้งที่3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

ณภัทร แพชัยภูมิ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(1): 23-31.

DaVita kidney care. Smoking and Chronic Kidney Disease [Internet]. 2022[Cited 2022 July 29]. Available from: https://www.davita.com/education/ckd-life/lifestyle-changes/smoking-and-chronic-kidney-disease.

ทวี ศิลารักษ์. การพัฒนาแบบคัดกรองโรคไตเรื้อรังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

วริณฎ์ฐิษา มูลกองศรี, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตําบลกุดป่อง อําเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 151-60.

Russo GT, Cosmo SD, Viazzi F, Mirijello A, Ceriello A, Guida P, et al. Diabetic kidney disease in the elderly: Prevalence and clinical correlates. BMC Geriatrics 2018; 18(38): 1–11.

Ito K, Maeda T, Tada K, Takahashi K, Yasuno T, MasutaniK, et al. The role of cigarette smoking on new-onset of chronic kidney disease in a Japanese population without prior chronic kidney disease: Iki epidemiological study of atherosclerosis and chronic kidney disease (ISSA-CKD). Clin Exp Nephrol 2020; 24: 919–26.

เขตสุขภาพที่ 8. รายงานประจำปี 2563. เขตสุขภาพที่ 8; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. HDC กระทรวงสาธารณสุข [Internet]. 2565 [cited 2022 Jul 1]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานใน ประเทศไทย การยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษา และขยายการเข้าถึงการรักษาโรคเบาหวาน นำไปสู่สังคมสุขภาพที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา; 2561. หน้า 1–20.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรงพยาบาลเค็มน้อยอร่อย(3)ดี. กรุงเทพฯ: เวิร์คพลัส เอลลิแก็นซ์; 2562.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17(14): 1623–34.

วันเฉลิม รัตนวงษ์, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล, สุพจน์ คำสะอาด, อมรรัตน์ เพียงเกษ. ความชุกของโรคไตเรื้อรังและการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564: 28(2); 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย