ผลสำเร็จของการรักษาวัณโรคภายใต้การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่ขึ้นทะเบียนในปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2563

ผู้แต่ง

  • อรรถกร จันทร์มาทอง กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
  • ลัดดาวัลย์ ปัญญา กองวัณโรค

คำสำคัญ:

วัณโรค, วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จของการรักษา (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ส่งผลต่อการลดความล่าช้าในตรวจวินิจฉัย การแจ้งหรือรายงาน และดูแลรักษา (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมายตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่ขึ้นทะเบียนในปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2563 ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561-30 กันยายน 2563 จำนวน 64 ราย จากข้อมูลการตรวจสอบข่าวการระบาด การสอบสวนโรคเบื้องต้น ระบบข้อมูลวัณโรค NTIP และข้อมูลการถอดบทเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์โดยใช้สถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า อัตราสำเร็จของการรักษาผู้ป่วย XDR-TB ร้อยละ 62.5 ขึ้นทะเบียนรักษา ร้อยละ 82.8 มีการแจ้งภายใน 3 ชั่วโมง ร้อยละ 51.6 แยกกัก กักกัน ร้อยละ 98.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วย XDR-TB อย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่มประชากรเสี่ยงต่อวัณโรค (P-value = 0.035) โรคประจำตัว/โรคร่วม (P-value = 0.024) ผลการประเมินก่อนที่จะขึ้นทะเบียนรักษา XDR-TB (P-value = 0.021) กลุ่มผู้มีเหตุอันควรสงสัย XDR-TB (P-value = 0.022) การขึ้นทะเบียนรักษา (P-value = 0.049) และการแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่เป็น XDR-TB hub (P-value = 0.001)

จากผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการคัดกรองผู้มีเหตุอันควรสงสัยและส่งตรวจวินิจฉัย เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็วและได้มาตรฐาน มีผลต่อผลสำเร็จของการรักษา และต้องใช้กลไกผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ ระดับเขต และระดับจังหวัดเป็นที่ปรึกษา และกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

References

World Health Organization. WHO global lists of high-burden countries for TB, multidrug/rifampicin-resistant TB (MDR/RR-TB), and TB/HIV, 2021–2025. Geneva: WHO; 2021.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 29 ง 7 กุมภาพันธ์ 2561

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 316 ง 21ธันวาคม 2560

กรมควบคุมโรค กองระบาดวิทยา. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. นนทบุรี: แคนนากราฟฟิค; 2563.

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 (National tuberculosis control programme guideline, Thailand 2021). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กรมควบคุมโรค สำนักวัณโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากภายใต้ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2562.

กรมควบคุมโรค ศูนย์กฎหมาย. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

วรรณเพ็ญ จิตต์วิวัฒน์, สมศรี เจริญพิชิตนันท์, รำไพ รอยคำเวียง. สถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2560 – 2563. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2564; 40(3): 87-97.

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค. รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค. แนวทางการเลือกใช้สูตรยารักษาวัณโรคดื้อยา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Varshney K, Anaele B, Molaei M, Frasso R, Maio V. Risk Factors for poor outcomes among patients with extensively drug-resistant tuberculosis (XDR-TB): A scoping review. Infect Drug Resist 2021; 14: 5429–48.

สมบัติ แทนประเสริฐสุข, จิตรลดา อุทัยพิบูลย์, ก่อพงษ์ ทศพรพงศ์, จันทิรา สุขะสิฐษ์วณิชกุล, วัลภา จุลเวช. ระบาดวิทยาเชิงพรรณนาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โรงพยาบาลมะการักษ์ปี 2550-2558. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 400-12.

Kamolwat P. The evaluation of treatment outcome of XDR-TB/pre XDR-TB/difficult-to-treat MDR-TB patients registered for treatment with new regimens for the fiscal year 2016-2018. Thai J Tuberc Chest Crit Care 2020; 39: 46-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09